ยกเลิก ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการยื่นแบบแสดงรายการ
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการยื่นแบบแสดงรายการข้อเท็จจริงสำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ แจ้งว่า ได้ทำการวิเคราะห์แบบแสดงรายการ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา พบปัญหาในทางปฏิบัติเกี่ยวกับข้อกฎหมายตามมาตรา 48(3) แห่ง ประมวลรัษฎากร ซึ่งกำหนดให้ผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำเงินได้มารวมคำนวณภาษีตาม มาตรา 48(1)(2) แห่งประมวลรัษฎากรหลายกรณี จึงหารือว่าความเห็น ดังต่อไปนี้ถูกต้องหรือไม่ 1. กรณีผู้มีเงินได้ประเภทดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เมื่อผู้มีเงินได้เลือกที่จะนำมารวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว ผู้มีเงินได้จะต้องนำดอกเบี้ยที่ได้รับทั้งหมดในปีภาษีนั้นมารวม คำนวณ จะนำมาแสดงเพียงบางส่วนไม่ได้ 2. กรณีสามีมีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารและเงินได้ประเภทอื่นซึ่งสามารถเลือกนำ มาคำนวณภาษีได้ แต่ภริยามีเงินได้หลายอย่างรวมทั้งมีเงินได้จากเงินฝากธนาคารและเงินปันผลด้วย 2.1 ถ้าสามีใช้สิทธิเลือกไม่นำเงินได้ประเภทดอกเบี้ยในส่วนของตนมารวมคำนวณ ดอกเบี้ยในส่วนของภริยา ซึ่งมาตรา 57 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้ถือเป็นเงินได้ของสามีก็จะ ต้องไม่นำมารวมคำนวณภาษีด้วยเช่นกัน 2.2 ถ้าสามีเลือกไม่นำเงินได้ส่วนของตนมารวมคำนวณภาษีตามมาตรา 48(3) แห่งประมวลรัษฎากร จะนำเฉพาะเงินได้ของภริยาซึ่งถือเป็นเงินได้ของสามีตามมาตรา 57 ตรี มา คำนวณในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ถือว่า (1) สามีมีเงินได้ เนื่องจากมีหลักฐานว่าสามีมีเงินได้แต่เลือกไม่นำมารวมคำนวณภาษี (2) การยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 จะต้องยื่นในนามสามีโดยระบุว่าคู่สมรสมีเงินได้รวมคำนวณภาษี (เงินได้ที่กรอกในแบบ ภ.ง.ด.90 เป็นเงินได้ในนามของภริยาทั้งหมด) (3) การหักลดหย่อนเงินบริจาคนั้น เงินบริจาคในนามสามีสามารถนำมารวมคำนวณ หักลดหย่อนได้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 48(3), มาตรา 57 ตรีแนววินิจฉัย1. กรณีเงินได้ประเภทดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษี ในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้ โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่น ก็ได้ ตามมาตรา 48(3) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ในกรณีที่เลือกนำเงินได้ประเภทดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารมารวมคำนวณกับ เงินได้อื่น ผู้มีเงินได้จะต้องนำเงินได้ประเภทดังกล่าวที่ได้รับในปีภาษีนั้นทั้งหมดมารวมคำนวณภาษี จะ เลือกเฉพาะบางส่วนมารวมคำนวณภาษีไม่ได้ 2. กรณีที่สามีและภริยาต่างมีเงินได้ทั้งสองฝ่าย มาตรา 57 ตรี วรรคหนึ่ง แห่ง ประมวลรัษฎากร กำหนดว่า “ในการเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยานั้น ถ้าสามีและภริยาอยู่ร่วมกัน ตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่ และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามข้อเท็จจริงสามีมี เงินได้ประเภทดอกเบี้ยเงินฝาก ธนาคารและเงินได้ประเภทอื่นที่สามารถเลือกนำมารวมคำนวณภาษีได้ และภริยามีเงินได้หลายประเภท รวมทั้งมีเงินได้ประเภทดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารและเงินปันผลด้วย เป็นกรณีต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ดังนั้น จึงต้องถือว่าเงินได้ของภริยาเป็นเงินได้ของสามีและสามีมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและ เสียภาษีโดยถือว่าสามีภริยาเป็นหน่วยภาษีเดียวกัน ดังนั้น 2.1 หากสามีจะใช้สิทธิเลือกเสียภาษีตามที่ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้โดยไม่นำ ไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่น ตามมาตรา 48(3) แห่งประมวลรัษฎากร สามีจะต้องใช้สิทธิเลือก สำหรับเงินได้พึงประเมินประเภทดังกล่าวทั้งหมด กล่าวคือ ทั้งส่วนของตนและส่วนของภริยา เนื่องจาก สามีภริยาถือเป็นหน่วยภาษีเดียวกัน สามีจะเลือกใช้สิทธิไม่นำเงินได้ประเภทดังกล่าวมารวมคำนวณภาษี เฉพาะส่วนของตนไม่ได้ 2.2 สำหรับเงินได้ประเภทอื่นของภริยา เมื่อกฎหมายกำหนดให้ถือว่าเป็นเงินได้ ของสามี ดังนั้น สามีจึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีสำหรับเงินได้ ดังกล่าว อย่างไรก็ตามถ้าภริยาประสงค์จะแยกยื่นแบบต่างหากจากสามี โดยยื่นแบบในนามของตนเองก็ ให้ทำได้ แต่จะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานประเมินภายในเวลาซึ่งกฎหมายกำหนดให้ยื่นรายการ และผลของ การแยกยื่นนั้นจะต้องไม่ทำให้ภาษีที่ต้องเสียเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ตามมาตรา 57 ตรี วรรคสอง แห่ง ประมวลรัษฎากร ยกเว้นเงินได้พึงประเมินประเภทเงินเดือน ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งภริยามีสิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีได้โดยไม่ถือเป็นเงินได้ของสามี ตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร 2.3 ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 นั้น เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ถือว่าเงินได้ของ ภริยาเป็นเงินได้ของสามี ดังนั้น จึงต้องยื่นแบบในนามของสามีโดยให้ระบุว่าคู่สมรสมีเงินได้รวมคำนวณ ภาษี เว้นแต่ภริยาประสงค์จะใช้สิทธิยื่นแบบในนามของตนเอง ตามมาตรา 57 ตรี วรรคสอง หรือ มาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร 2.3 การหักลดหย่อนเงินบริจาค กฎหมายกำหนดให้ผู้มีเงินได้ มีสิทธินำเงินบริจาคมาหักลดหย่อนได้ ตามมาตรา 47(7)(ก)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งในกรณีที่สามี และ ภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย กฎหมายกำหนดให้ถือว่าเงินได้ของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และสามี เป็นผู้มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษี โดยถือว่าสามีและภริยาเป็น หน่วยภาษี เดียวกัน ดังนั้น ในส่วนของเงินบริจาค ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคในนามของสามีหรือภริยา สามีมีสิทธินำ เงินบริจาคทั้งในส่วนของตนเองและในส่วนของภริยามาหักลดหย่อนในการคำนวณ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ แต่เนื่องจากกรณีตามข้อเท็จจริง สามีใช้สิทธิเลือกไม่นำเงินได้ในส่วนของ ตนทั้งหมดมารวมเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนั้น สามีจึงไม่อาจนำเงินบริจาค ในส่วนของตนมาหักลดหย่อนได้ คงมีสิทธินำเงินบริจาคเฉพาะส่วนของภริยามาหักลดหย่อนในการคำนวณ ภาษีได้เท่านั้น ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/6459 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2544 |