ยกเลิก ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการโอนทรัพย์สิน
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการโอนทรัพย์สินข้อเท็จจริงบริษัทฯ กำลังทำแผนการปรับปรุงโครงสร้างการถือหุ้นและการลงทุนเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพใน การดำเนินธุรกิจโดยจะมีการโอนกิจการบางส่วนให้แก่บริษัทในกลุ่มที่เป็นบริษัทในเครือเดียวกันตาม มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร จึงขอทราบว่าในกรณีที่บริษัทฯ โอนกิจการ บางส่วนให้แก่กันตาม หลักเกณฑ์ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการ โอนกิจการบางส่วนให้แก่กันของบริษัทมหาชนจำกัดหรือบริษัทจำกัด เพื่อยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2542 ซึ่งจะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ตาม พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 356) พ.ศ. 2542 บริษัทฯ จะใช้ราคาทุนที่ปรากฏในบัญชี สำหรับทรัพย์สินที่ โอนให้แก่กัน ในการคำนวณกำไรสุทธิ โดยถือว่ามีเหตุอันสมควรได้หรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 356) พ.ศ. 2542, พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 384)พ.ศ. 2544แนววินิจฉัยกรณีที่บริษัทฯ ได้โอนกิจการบางส่วนให้แก่กัน และได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 356) พ.ศ. 2542 แล้ว การที่บริษัทฯ จะใช้ราคาทุนตามบัญชี (book value) ในวันที่โอนทรัพย์สิน เพื่อประโยชน์ในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ ถือว่า มีเหตุอันสมควรที่จะคิดค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาดได้ อนึ่ง การยกเว้นภาษีอากรตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 356) พ.ศ. 2542 ได้ยกเว้นให้ เฉพาะกรณีที่มีการโอนกิจการบางส่วนให้แก่กันภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2543 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าวได้มีการขยายเวลาการยกเว้นภาษีอากรในลักษณะเดียวกันออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2544 ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 384) พ.ศ. 2544 ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/9238 ลงวันที่ 20 กันยายน 2544 |