มูลค่าของฐานภาษี ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเงินชดเชยค่าก่อสร้าง
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเงินชดเชยค่าก่อสร้างข้อเท็จจริงบริษัทฯ เป็นผู้รับจ้างเหมาก่อสร้างอาคารเรือนแถวข้าราชการตำรวจชั้นประทวนและพลตำรวจขนาด 10 คูหา จำนวน 2 หลัง ของสถานีตำรวจนครบาลฯ และบริษัทฯ ได้ดำเนินการก่อสร้างโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จ บริษัทฯ จึงมีความประสงค์เบิกเงินชดเชย ค่าก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) จำนวนเงิน 360,855.60 บาท ซึ่งบริษัทฯ ได้รับตามมติคณะรัฐมนตรีตามหนังสือด่วน ที่สุด ลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 อนุมัติชดเชยเพิ่มเติมค่าก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2550 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2551 เฉพาะสัญญาจ้างที่ได้ดำเนินงานก่อสร้างแล้วเสร็จและส่งมอบงานงวดสุดท้ายเท่านั้น บริษัทฯ จึงขอทราบว่า เงินชดเชยค่าก่อสร้างอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และจะต้องนำเงินดังกล่าวไปรวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลหรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรแนววินิจฉัย1. กรณีเงินชดเชยค่าก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง จึงเป็น มูลค่าของฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการ ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ต้องนำเงินชดเชยค่า ก่อสร้างดังกล่าวมารวมในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร 2. เงินชดเชยค่าก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) ที่บริษัทฯ ได้รับ ถือเป็นรายได้เนื่องจากกิจการของบริษัทฯ บริษัทฯ ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/10650 ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2552 |