ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย กรณีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอสังหาริมทรัพย์ของคนสาบสูญ
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย กรณีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอสังหาริมทรัพย์ของคนสาบสูญ
ข้อเท็จจริงนาง ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดิน ต่อมา นาง ข. ได้นำคำสั่งศาลซึ่งสั่งให้นาง ก.เป็นคนสาบสูญไปให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนเป็นผู้จัดการมรดกเฉพาะส่วนของ นาง ก. พร้อมทั้งจดทะเบียนโอนมรดกเฉพาะส่วนเพียงบางส่วนให้แก่ นาย ค. ต่อมาศาลได้สั่งให้เพิกถอนคำสั่งให้ นาง ก.เป็นคนสาบสูญ นาง ก. จึงได้ยื่นคำขอให้เจ้าพนักงานที่ดินเพิกถอนการจดทะเบียนผู้จัดการมรดกและการจดทะเบียนโอนมรดก เพื่อให้นาง ก. มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามเดิมนั้นเจ้าพนักงานที่ดินจะต้องเรียกเก็บภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หรือไม่
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
แนววินิจฉัย
กรณีตามข้อเท็จจริงเมื่อศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งให้นาง ก. เป็นคนสาบสูญ และได้ประกาศคำสั่งในราชกิจจานุเบกษาแล้ว การแก้ไขชื่อทางทะเบียนให้ถูกต้องไม่เข้าลักษณะเป็นการ "ขาย" ตามความหมายในมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรจึงไม่มีเงินได้พึงประเมินที่จะต้องเสียภาษี หรืออยู่ในบังคับต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายแต่อย่างใด
ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/15076 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2540 |