Skip to Content

ผลเสียหาย ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีนำผลเสียหายจากการลดทุนโดยลดจำนวนหุ้นมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีนำผลเสียหายจากการลดทุนโดยลดจำนวนหุ้นมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ


ข้อเท็จจริง

บริษัทฯ ได้ลงทุนซื้อหุ้น ธนาคาร ก ก่อนปี 2541 จำนวน 1,000,000 หุ้น โดยซื้อเพื่อ

การลงทุนหาผลประโยชน์จำนวน 700,000 หุ้น มูลค่าต้นทุนหุ้นละ 20 บาท และซื้อเพื่อขายจำนวน

300,000 หุ้น มูลค่าต้นทุนหุ้นละ 28 บาท แต่ธนาคารดังกล่าวดำเนินกิจการขาดทุนในเดือนสิงหาคม

2541 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ธนาคารฯ ลดทุนลงโดยลดจำนวนหุ้นตามสัดส่วนจำนวนหุ้นเดิม

1,000 หุ้น เหลือหุ้นใหม่ 1 หุ้น และนำส่วนที่ลดทุนไปลดผลขาดทุนตามบัญชีเพื่อให้งบการเงินของ

ธนาคารฯ แสดงฐานะการเงินถูกต้องตามความเป็นจริง ผลจากการลดทุนโดยลดจำนวนหุ้นของธนาคาร

ดังกล่าว ทำให้เงินลงทุนในหุ้นของบริษัทฯ ลดลง เป็นผลเสียหายจากการดำเนินการที่ไม่อาจได้กลับคืน

มา และต้องการให้ผลกำไรขาดทุนที่ปรากฏในบัญชีกำไรขาดทุนของบริษัทฯ แสดงถึงผลการดำเนินการ

อย่างสม่ำเสมอ จึงได้นำผลเสียหายดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ โดยคำนวณจาก

ต้นทุนของจำนวนหุ้นที่ลดลง จึงหารือว่าบริษัทฯ สามารถนำผลเสียหายจากการลดทุนโดยลดจำนวนหุ้นมา

ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรขาดทุนได้หรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 65 ตรี (17), มาตรา 65 ทวิ (6)

แนววินิจฉัย

กรณีตามข้อเท็จจริงหุ้นของบริษัทฯ ที่ซื้อมาเพื่อการลงทุนหาผลประโยชน์จำนวน 700,000

หุ้น เข้าลักษณะเป็นทรัพย์สิน หากมีการลดมูลค่าหุ้น บริษัทฯ จะนำมูลค่าของหุ้นที่ตีราคาต่ำลง (ไม่ว่าจะ

โดยการลดมูลค่าหุ้นหรือลดจำนวนหุ้น) มาถือเป็นรายจ่ายไม่ได้ ตามมาตรา 65 ตรี (17) แห่ง

ประมวลรัษฎากร แต่บริษัทฯ จะนำผลเสียหายจากการลดทุนมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้

ต่อเมื่อได้มีการขายหุ้นดังกล่าว

สำหรับหุ้นจำนวน 300,000 หุ้น ที่ซื้อมาเพื่อขาย เข้าลักษณะเป็นสินค้า หากมีผลขาดทุน

จากการตีราคาสินค้าคงเหลือ (ไม่ว่าจะโดยการลดมูลค่าหุ้นหรือลดจำนวนหุ้น) บริษัทฯ จะนำมาถือเป็น

รายจ่ายไม่ได้ ตามมาตรา 65 ทวิ (6) แห่งประมวลรัษฎากร เพราะการตีราคาตลาดซึ่งต่ำกว่าทุนนั้น

เท่ากับเป็นการหักรายจ่ายไปครั้งหนึ่งแล้ว




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/12651 ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2542

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)