ผลขาดทุนสุทธิยกไป ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการนำผลขาดทุนสุทธิมาหักเป็นรายจ่าย
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการนำผลขาดทุนสุทธิมาหักเป็นรายจ่ายข้อเท็จจริงบริษัทฯ จดทะเบียนในประเทศไทยมีผลประกอบการดังนี้ ปี 2540 มีผลขาดทุนสุทธิ 1,300 ล้านบาท ปี 2541 มีผลกำไรสุทธิ 400 ล้านบาท คงเหลือขาดทุนสะสม 900 ล้านบาท บริษัทฯ มีเงินสำรองทั่วไปที่ได้กันไว้จากการจัดสรรกำไรสุทธิของปีก่อนส่วนที่เกินสำรอง ตามกฎหมายจำนวน 1,000 ล้านบาท และจะขออนุมัติจากผู้ถือหุ้นให้โอนเงินสำรองทั่วไปดังกล่าวมาหัก ผลขาดทุนสะสมคงเหลือจำนวน 900 ล้านบาท บริษัทฯ ขอหารือว่า ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากผล ประกอบการในปี 2542 และปีต่อ ๆ ไปนั้น บริษัทฯ มีสิทธินำผลขาดทุนสุทธิที่เกิดจากการประกอบการใน ปี 2540 จำนวน 900 ล้านบาทมาหักออกจากกำไรที่ได้จากการประกอบการในปี 2542 และปีต่อ ๆ ไป แต่ไม่เกิน 5 ปี ตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากรได้หรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 65 ตรี (12)แนววินิจฉัย1. บริษัทฯ จดทะเบียนในประเทศไทยมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นกำไรทางภาษีอากรก่อนการจัดสรรเงินสำรองและจ่าย เงินปันผล ดังนั้นเงินสำรองที่จัดสรรไว้ตามกฎหมายหรือเงินสำรองทั่วไปส่วนที่เกินสำรองตามกฎหมาย จำนวน 1,000 ล้านบาทข้างต้น จึงเป็นส่วนหนึ่งของกำไรสุทธิที่ได้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไปแล้ว 2. การที่บริษัทฯ จะนำเงินสำรองทั่วไปมาหักผลขาดทุนสะสมคงเหลือจำนวน 900 ล้าน บาท ทำให้มีกำไร 100 ล้านบาท จึงเป็นเพียงกำไรทางบัญชีเท่านั้น ส่วนในทางภาษีอากร บริษัทฯ ยังคงมีผลขาดทุนสะสมจำนวน 900 ล้านบาทเช่นเดิม ดังนั้น ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทฯ จึงมีสิทธินำผลขาดทุน สะสม จำนวน 900 ล้านบาท มาหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2542 และปีต่อ ๆ ไปได้ แต่ไม่เกิน 5 ปีตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/30022 ลงวันที่ 05 มกราคม 2543 |