ผลขาดทุนยกมา ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกินห้าปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกินห้าปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบันข้อเท็จจริงกรณีผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกินห้าปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน ตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีผลกำไรขาดทุน ดังนี้ ปี 2548 ขาดทุน 572,906.35 บาท ปี 2549 ขาดทุน 15,258,404.48 บาท ปี 2550 ขาดทุน 14,319,670.95 บาท ปี 2551 กำไร 24,577,038.94 บาท ปี 2552 กำไร 6,771,720.28 บาท ปี 2553 ขาดทุน 34,701,322.36 บาท ปี 2554 ขาดทุน 3,050,485.03 บาท ปี 2555 ขาดทุน 66,170,767.70 บาท ปี 2556 กำไร 9,657,719.96 บาท ปี 2557 กำไร 25,965,689.23 บาท ปี 2558 กำไร 8,193,666.83 บาท บริษัทฯ จึงขอหารือว่า ในปี 2559 บริษัทฯ สามารถนำผลขาดทุนสุทธิมาใช้ได้อย่างไร กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากรแนววินิจฉัยกรณีตามข้อเท็จจริง ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทฯ มีสิทธินำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกินห้าปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบันมาหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปัจจุบันได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น หากรอบระยะเวลาบัญชีปี 2559 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิและมีผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกินห้าปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปี 2559 บริษัทฯ ย่อมนำผลขาดทุนสุทธิมาหักเป็นรายจ่ายได้ ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ 0702/2531 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2561 |