ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรจากการปรับปรุงโครงสร้างหน
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรจากการปรับปรุงโครงสร้างหนข้อเท็จจริงบริษัท บ. จำกัด ได้ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับนาง ส. เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2546 ต่อมา บสส. และนาง ส. ได้แก้ไขเงื่อนไขสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าว โดยลูกหนี้และเจ้าหนี้ได้ตกลงชำระหนี้เป็นเงินทั้งสิ้น 15,000,000 บาท ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2546 แต่นาง ส. ได้เสียชีวิตก่อนที่จะลงนามในบันทึกแก้ไขเงื่อนไขสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และยังไม่ได้แต่งตั้งผู้จัดการมรดก นาย น. และนาย ร. ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้แทนนาง ส. เป็นเงิน 12,000,000 บาท พร้อมกับได้ไถ่ถอนหลักประกันในส่วนที่ผู้ค้ำประกันได้ถือกรรมสิทธิ์และโอนขายให้บุคคลภายนอกเป็นเงิน 10,000,000 บาท ส่วนที่ดินแปลงที่นาง ส. ถือกรรมสิทธิ์ยังไม่มีการไถ่ถอน เนื่องจากยังไม่มีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ต่อมาผู้ค้ำประกันได้ขอให้ บสส. ออกหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ของสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่นที่มิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เพื่อนำเงินที่ได้จากการโอนอสังหาริมทรัพย์ไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร บสส. จึงขอทราบว่า กรณีตามข้อเท็จจริงดังกล่าว จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรจากการนำเงินที่ได้จากการโอนอสังหาริมทรัพย์ไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินหรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 433) พ.ศ. 548แนววินิจฉัยกรณีตามข้อเท็จจริง เนื่องจากนาย น. และนาย ร. ผู้ค้ำประกันของนางสายสมรฯ ได้ชำระหนี้ทั้งหมดให้ บสส. แล้ว ดังนั้น จึงไม่มีกรณีที่ บสส. ต้องออกหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ของสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินเพื่อนำเงินที่ได้จากการโอนอสังหาริมทรัพย์ไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่433) พ.ศ.2548 แต่อย่างใด ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/2261 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2549 |