Skip to Content

ประเมินภาษีอากร ภาษีเงินได้นิติบุคคล การประเมินภาษีอากรกรณีบริษัทจำกัดถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้าง

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล การประเมินภาษีอากรกรณีบริษัทจำกัดถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้าง


ข้อเท็จจริง

หารือการประเมินภาษีอากร ราย บริษัท ช. กรณีสำนักงานสรรพากรพื้นที่ได้เข้าตรวจ

สถานประกอบการของบริษัทฯ แต่ไม่สามารถติดต่อกับกรรมการผู้จัดการของบริษัทฯ เพื่อขอทราบ

รายละเอียดเกี่ยวกับการประกอบกิจการของบริษัทฯ ได้ สำนักงานสรรพากรพื้นที่จึงได้ทำหนังสือเชิญพบ

2 ครั้ง แต่กรรมการผู้จัดการมิได้มาพบตามหนังสือฉบับแรก ส่วนหนังสือฉบับหลังถูกตีกลับโดยไปรษณีย์แจ้ง

ว่า “ไม่มารับภายในกำหนด” ซึ่งจากการคัดค้นข้อมูลพบว่า บริษัทฯ จดทะเบียนนิติบุคคลเมื่อวันที่ 16

มีนาคม 2513 มีสาขา 1 แห่ง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2534

ประกอบกิจการจำหน่ายวัสดุก่อสร้างและรับเหมาก่อสร้าง บริษัทฯ ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการ

ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) และแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 30) แต่จากการคัดค้น

ข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่าย พบว่า บริษัทฯ มีรายได้ในเดือนเมษายน 2544 ถึงเดือนมิถุนายน 2545

รวมทั้งสิ้น 3,239,799.21 บาท และจากการคัดหลักฐานทะเบียนนิติบุคคลพบว่านายทะเบียนได้ขีดชื่อ

บริษัทฯ ออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างตามมาตรา 1246 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วตั้งแต่

วันที่ 8 สิงหาคม 2543 กรณีตามข้อเท็จจริงดังกล่าว บริษัทฯจึงมีรายได้ภายหลังจากถูกขีดชื่อเป็นบริษัท

ร้างแล้ว ซึ่งสำนักงานสรรพากรพื้นที่เห็นว่า แม้นายทะเบียนจะขีดชื่อบริษัทออกจากทะเบียนทำให้สภาพ

นิติบุคคลเป็นร้างแล้ว แต่ความรับผิดของกรรมการยังคงมีอยู่ตามมาตรา 1246 แห่ง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงหารือว่า

(1) สำนักงานสรรพากรพื้นที่จะประเมินภาษีอากรได้หรือไม่

(2) หากประเมินภาษีอากรได้ จะทำการประเมินในนามของใคร และ

(3) หากประเมินภาษีอากรได้ จะส่งหนังสือแจ้งการประเมินไปที่ใด


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 1246(5) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

แนววินิจฉัย

1. กรณีบริษัท ช. ได้ถูกนายทะเบียนขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างตั้งแต่วันที่ 8

สิงหาคม 2543 ผลทางกฎหมายที่นายทะเบียนขีดชื่อบริษัทออกจากทะเบียน ถือเป็นการเลิกบริษัทตั้งแต่

เมื่อโฆษณาแจ้งความในหนังสือราชกิจจานุเบกษา แต่ความรับผิดของกรรมการ ของผู้จัดการ และของ

ผู้ถือหุ้นทุก ๆ คนมีอยู่เท่าไรก็ให้คงมีอยู่อย่างนั้น และพึงเรียกบังคับได้เสมือนดั่งว่าบริษัทยังมิได้เลิก ตาม

มาตรา 1246(5) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ถ้าเจ้าหนี้ใด ๆ ของบริษัทฯ รู้สึกว่าต้องเสีย

มิเป็นธรรมเพราะการที่บริษัทฯ ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน เจ้าหนี้ของบริษัทฯ ผู้ได้รับความเสียหายต้อง

ไปยื่นคำร้องต่อศาล ขอให้ศาลสั่งให้กลับจดชื่อบริษัทคืนเข้าสู่ทะเบียน ตามมาตรา 1246(6) แห่ง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่าย พบว่าบริษัทฯ

มีรายได้ในเดือนเมษายน-ธันวาคม 2544 และเดือนมกราคม-เมษายน และมิถุนายน 2545 รวมทั้งสิ้น

จำนวน 3,239,799.21 บาท โดยบริษัทฯ มิได้นำรายได้ดังกล่าวมายื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสีย

ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรมสรรพากรจึงต้องดำเนินการออกหมายเรียกเพื่อตรวจสอบการ

เสียภาษีอากรของบริษัทฯ ให้ถูกต้องต่อไป แต่เนื่องจากบริษัทฯ สิ้นสภาพการเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย

แล้ว การออกหมายเรียกเพื่อตรวจสอบการเสียภาษีอากรของบริษัทฯ จึงไม่อาจกระทำได้ กรณีตาม

ข้อเท็จจริงกรมสรรพากรจึงถือเป็นเจ้าหนี้ผู้ได้รับความเสียหายเพราะการที่บริษัทฯ ถูกขีดชื่อออกจาก

ทะเบียน ดังนั้น ในการตรวจสอบภาษีอากรของบริษัทฯ ซึ่งเป็นบริษัทร้าง ก่อนออกหมายเรียกตรวจสอบ

ภาษีอากรไปยังบริษัทฯ กรมสรรพากรในฐานะเจ้าหนี้ของบริษัทฯ ผู้ได้รับความเสียหายต้องไปยื่นคำร้อง

ต่อศาล เพื่อขอให้ศาลสั่งให้กลับจดชื่อบริษัทฯ คืนเข้าสู่ทะเบียนเช่นเดิมตามมาตรา 1246(6) แห่ง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อศาลมีคำสั่งดังกล่าวแล้วถือว่าบริษัทฯ ยังคงตั้งอยู่ตลอดมาเสมือนดัง

ว่ามิได้ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเลย ซึ่งสำนักงานสรรพากรพื้นที่สามารถดำเนินการตรวจสอบภาษีอากร

ของบริษัทฯ ได้ตามกฎหมายต่อไป

2. กรณีที่ต้องทำการประเมินภาษีอากร ให้ทำการประเมินในนามของบริษัท ช.




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ 0706/4801 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2546

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)