ประเภทเงินได้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลป
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลปข้อเท็จจริงข้าราชการสาย ก. (อาจารย์) ของคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยของรัฐ และผู้ที่มิใช่ อาจารย์ของคณะทันตแพทยศาสตร์ฯ ได้ให้การรักษาพยาบาลทางทันตกรรม ประกอบโรคศิลปทาง ทันตกรรม นอกเวลาราชการ ณ คลินิกทันตกรรมพิเศษคณะทันตแพทยศาสตร์ โดยทำข้อตกลงกับคณะฯ และมีข้อตกลงแบ่งเงินที่ได้รับจากผู้ป่วยให้คณะฯ กรณีถือว่าทันตแพทย์กลุ่มนี้ได้รับเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ใช่หรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 40แนววินิจฉัย1. กรณีทันตแพทย์ทำงานประจำเป็นอาจารย์ของคณะทันตแพทยศาสตร์ฯ ได้รับเงินเดือน ประจำเมื่อมาปฏิบัติงานในคลินิกทันตกรรมพิเศษนอกเวลาราชการปกติของคณะทันตแพทยศาสตร์อีก จึง เป็นการปฏิบัติงานของลูกจ้างกับนายจ้างคนเดิม โดยมีหลักฐานใบเสร็จรับเงิน ซึ่งออกในนามของ ราชการ มหาวิทยาลัยฯ ที่ทำการคณะทันตแพทยศาสตร์เป็นผู้เรียกเก็บเงินจากคนไข้แล้วจ่ายค่าตอบแทน ให้ทันตแพทย์เป็นค่าธรรมเนียมพิเศษนอกเวลาราชการตามข้อตกลงในระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วย ค่าตอบแทนในการให้บริการนอกเวลาราชการปกติที่คลินิกทันตกรรมพิเศษ คณะทันตแพทยศาสตร์ พ.ศ. 2539 เงินค่าตอบแทนดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่ง ประมวลรัษฎากร 2. กรณีทันตแพทย์ที่ปฏิบัติงานในคลินิกทันตกรรมพิเศษนอกเวลาราชการปกติ ของคณะทันต แพทยศาสตร์ฯ มิใช่อาจารย์ของคณะทันตแพทยศาสตร์ฯ มาทำงานเป็นครั้งคราว ตามวันและเวลาที่ กำหนดตามข้อตกลง โดยมีหลักฐานใบเสร็จรับเงินซึ่งออกในนามของในราชการ มหาวิทยาลัยฯ ที่ทำการ คณะทันตแพทยศาสตร์ เป็นผู้เรียกเก็บเงินจากคนไข้แล้วจ่ายค่าตอบแทนให้ทันตแพทย์เป็นค่าธรรมเนียม พิเศษนอกเวลาราชการตามข้อตกลงในระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยค่าตอบแทนในการให้บริการ นอกเวลาราชการปกติที่คลินิกทันตกรรมพิเศษ คณะทันตแพทยศาสตร์ พ.ศ. 2539 จึงไม่มีความสัมพันธ์ใน ลักษณะของนายจ้างกับลูกจ้าง เข้าลักษณะเป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ ที่ได้เนื่องจากหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ ตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร 3. สำหรับกรณีที่ทันตแพทย์ตาม 1 และ 2 ได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ ประจำปีไว้ไม่ถูกต้อง ให้ยื่นแบบแสดงรายการปรับปรุงเพิ่มเติมเพื่อชำระภาษีให้ถูกต้องและต้องเสีย เงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งตามมาตรา 2 7 แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและค่าปรับอาญาแต่อย่างใด ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/05392 ลงวันที่ 08 มิถุนายน 2542 |