Skip to Content

ประเภทเงินได้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินค่าตอบแทนของแพทย์

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินค่าตอบแทนของแพทย์


ข้อเท็จจริง

กรณีแพทย์ที่ทำงานประจำในคณะฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเงินค่าตอบแทนจากการ

ชันสูตรพลิกศพ ซึ่งบางครั้งเป็นการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ โดยในการจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าว คณะฯ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะจ่ายเป็นรายครั้ง หลังจากได้รับการอนุมัติเบิกจ่ายซึ่งต้องมีใบมรณบัตร

ถูกต้องตามอัตราดังนี้

1. กรณีชันสูตรพลิกศพในที่เกิดเหตุ ได้รับค่าตอบแทนแต่ละครั้งไม่เกิน 800 บาทต่อคน

2. กรณีชันสูตรพลิกศพที่โรงพยาบาล ได้รับค่าตอบแทนศพละไม่เกิน 500 - 2,000 บาท

จึงขอหารือว่าเงินค่าตอบแทนดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 40(1)

แนววินิจฉัย

กรณีแพทย์ปฏิบัติงานประจำที่คณะฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเงินค่าตอบแทนจากการ

ชันสูตรพลิกศพเพิ่มเติมเป็นรายครั้งหลังจากได้รับการอนุมัติเบิกจ่ายแล้ว จากคณะฯ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงเป็นรายได้พิเศษที่ได้รับจากสถานพยาบาลที่ตนทำงานอยู่ ดังนั้น ค่าตอบแทนที่

ได้รับถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/10882 ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2545

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)