Skip to Content

ประเภทเงินได้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเงินได้จากการประกอบโรคศิลป และการให้บริการของสถานพยาบาล

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเงินได้จากการประกอบโรคศิลป และการให้บริการของสถานพยาบาล


ข้อเท็จจริง

หารือปัญหาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเงินได้จากการประกอบโรคศิลป

และการให้บริการของสถานพยาบาล ดังนี้

ตามข้อ 4 ของหนังสือด่วนที่สุดที่ กค 0811(กม.)/03785 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับ

เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลป ลงวันที่ 27 มีนาคม 2541 กำหนดว่า “กรณี

ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลป ทำสัญญาหรือข้อตกลงพิเศษกับสถานพยาบาลที่ตนทำงานอยู่เพื่อ

ประกอบโรคศิลปเป็นการส่วนตัวนอกเวลาทำการปกติ โดยการรับตรวจและรักษาผู้ป่วยและมีข้อตกลงแบ่ง

เงินที่ตนได้รับจากผู้ป่วยให้แก่สถานพยาบาลเป็นลายลักษณ์อักษร ค่าตอบแทนที่ได้รับถือเป็น

เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร” และตามข้อ 2 ของบันทึกด่วนที่สุด ที่ กค

0811/ว.2498 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับเงินได้จากวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลป การหัก

ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และการจัดทำบัญชีพิเศษของสถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ลงวันที่ 29

มีนาคม 2543 กำหนดว่า “กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปได้รับค่าตอบแทนที่เป็น

เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแยกเป็น 2 กรณี ดังนี้

1. กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปทำสัญญาหรือข้อตกลงกับสถานพยาบาลเพื่อขอใช้

สถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อประกอบโรคศิลปในนามของผู้ได้รับอนุญาตเพื่อตรวจและรักษาผู้ป่วย

โดยผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปเป็นผู้เรียกเก็บเงินค่าตรวจรักษาเอง และมีข้อตกลงแบ่งเงินค่า

ตรวจรักษาที่ได้รับจากผู้ป่วยให้แก่สถานพยาบาลเป็นลายลักษณ์อักษร

2. กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปทำสัญญาหรือข้อตกลงกับสถานพยาบาลเพื่อขอใช้

สถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อประกอบโรคศิลปในนามของผู้ได้รับอนุญาต เพื่อตรวจและรักษาผู้ป่วย

และมีข้อตกลงแบ่งเงินค่าตรวจรักษาที่ได้รับจากผู้ป่วยโดยสถานพยาบาลจะเป็นผู้เรียกเก็บเงินค่าตรวจ

รักษาแทนผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลป แล้วนำมาจ่ายให้กับผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปเพื่อ

แบ่งรายได้ให้แก่สถานพยาบาลต่อไป

ทั้งกรณี 1. และ 2. ให้ถือว่าเงินที่ผู้ได้รับอนุญาตเรียกเก็บจากผู้ป่วยทั้งจำนวนเป็น

เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร ของผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปมิใช่

เฉพาะเงินส่วนแบ่งที่เหลือหลังจากหักส่วนแบ่งของสถานพยาบาลออกแล้ว”

แต่เนื่องจากมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6868/2543 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2543 และ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6871/2543 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2543 ได้วินิจฉัยว่ากรณีที่สถานพยาบาล

เรียกเก็บเงินค่าตรวจรักษา และออกใบเสร็จรับเงินให้แก่คนไข้ หลังจากนั้นจะชำระค่าตรวจรักษาให้แก่

ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 40(2), มาตรา 40(6)

แนววินิจฉัย

กรณีดังกล่าวกรมสรรพากรได้แก้ไขโดยจัดทำเป็นกรณีเงินได้ประเภทต่าง ๆ ที่ผู้ได้รับอนุญาต

ให้ประกอบโรคศิลปได้รับตามหนังสือซ้อมความเข้าใจ ด่วนที่สุด ที่ กค 0811(กม.)/03785 เรื่อง ซ้อม

ความเข้าใจเกี่ยวกับเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลป ลงวันที่ 27 มีนาคม

2541 และหนังสือด่วนที่สุดที่ กค 0811/ว.2497 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับเงินได้จากวิชาชีพอิสระ

การประกอบโรคศิลป การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และการจัดทำบัญชีพิเศษของสถานพยาบาลที่มีเตียงรับ

ผู้ป่วยไว้ค้างคืน ลงวันที่ 29 มีนาคม 2543 เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน

ในการตรวจและแนะนำผู้มีเงินได้พึงประเมิน จึงให้ถือปฏิบัติตามหนังสือซ้อมความเข้าใจดังกล่าวต่อไป




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706(กม.06)/542 ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2546

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)