ประเภทเงินได้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย กรณีโรงพยาบาลจ้างบุคลากรจากที่อื่นมาทำงานนอกเวลา
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย กรณีโรงพยาบาลจ้างบุคลากรจากที่อื่นมาทำงานนอกเวลาข้อเท็จจริงกรณีโรงพยาบาล ก. ได้ว่าจ้างเภสัชกร พยาบาลและเทคนิคการแพทย์ ซึ่งเป็นบุคลากร จากที่อื่นมาทำงานนอกเวลาให้กับโรงพยาบาลฯ การที่โรงพยาบาลฯ จ่ายค่าตอบแทนให้บุคคลดังกล่าว เป็นอัตราต่อเวรและต่อชั่วโมงถือเป็นการจ้างแรงงาน เพราะโรงพยาบาลฯ มีวัตถุประสงค์ที่จะใช้ แรงงานตามกำหนดเวลาว่าจ้าง เข้าลักษณะเป็นการจ่ายค่าจ้างแรงงานเป็นรายเดือน ผู้รับค่าจ้าง แรงงานมิได้มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ประกอบกับผู้ป่วยเป็นคนไข้ของโรงพยาบาลฯ มิใช่คนไข้ที่ผู้รับจ้างนำเข้า มารักษาพยาบาลเอง การจ่ายค่าตอบแทนของโรงพยาบาลฯ จึงเข้าลักษณะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โรงพยาบาลฯ ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จึงขอทราบว่า ความเห็นดังกล่าว ถูกต้องหรือไม่ อย่างไร กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 40 (1), มาตรา 40 (2), มาตรา 40 (6)แนววินิจฉัย1. คำว่า "ศิลปะ" ตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร หมายถึง การประกอบ โรคศิลปะตามคำนิยามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2497 ซึ่ง หมายความว่า กิจการใด ๆ อันกระทำโดยตรงต่อร่างกายต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (1) เวชกรรม... (2) ทันตกรรม... (3) เภสัชกรรม... (4) การพยาบาล... (5) การผดุงครรภ์... (6) กายภาพบำบัด... (7) เทคนิคการแพทย์... 2. โดยที่ในปัจจุบันได้มีการแยกการควบคุมการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม การพยาบาลและการผดุงครรภ์ ออกจากอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการควบคุมการประกอบ โรคศิลปะ โดยจัดตั้งแพทยสภา ทันตแพทยสภา สภาเภสัชกรรม และสภาการพยาบาลขึ้น ทำหน้าที่ควบคุม การประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม การพยาบาล การผดุงครรภ์ และการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ แทนคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบ โรคศิลปะ พ.ศ. 2497 ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพ ดังต่อไปนี้ (1) พระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 มิถุนายน 2537 เป็นต้นไป "ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม" หมายความว่า บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและรับ ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมจากสภาเภสัชกรรมตามมาตรา 4 และผู้ได้ขึ้นทะเบียนและรับ ใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน ในสาขาเภสัชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการ ประกอบโรคศิลปะ และใบอนุญาตนั้นยังคงใช้ได้ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับตามมาตรา 55 (2) พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 ใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 6 กันยายน 2528 เป็นต้นไป "ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล" หมายความว่า บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและรับ ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลจากสภาการพยาบาล "ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์" หมายความว่า บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและรับ ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์จากสภาการพยาบาล "ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์" หมายความว่า บุคคลซึ่งได้ขึ้น ทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์จากสภาการพยาบาลตาม มาตรา 4 และผู้ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน ในสาขาการพยาบาล สาขาการผดุงครรภ์ หรือสาขาการพยาบาลและผดุงครรภ์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการประกอบ โรคศิลปะ และใบอนุญาตนั้นยังคงใช้ได้ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับตามมาตรา 50 (3) พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พุทธศักราช 2497 ใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2480 เป็นต้นไป ตามมาตรา 4 (7) และมาตรา 15 (3) คือ "เทคนิคการแพทย์ คือ การกระทำใด ๆ ด้วยกรรมวิธีทางห้องปฏิบัติการเพื่อช่วย วินิจฉัยและทำนายความรุนแรงของโรค" สำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันในสาขาการพยาบาลกายภาพบำบัด และ เทคนิคการแพทย์ ต้อง (ก) มีปริญญาหรือประกาศนียบัตรจากสถานศึกษาในประเทศไทยที่คณะกรรมการ ควบคุมการประกอบโรคศิลปะรับรอง แต่คณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะอาจสอบความรู้ก่อน ก็ได้ (ข) มีปริญญาหรือประกาศนียบัตรจากสถานศึกษาในต่างประเทศและได้รับ อนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะในประเทศที่ตนได้รับปริญญา หรือประกาศนียบัตร และคณะกรรมการ ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ ได้สอบความรู้เป็นที่พอใจแล้ว แต่ถ้าเป็นคนไทยไม่จำต้องเป็น ผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะในประเทศที่ผู้นั้นได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตร ดังนั้น "โรคศิลปะ" ตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร จึงหมายถึง การประกอบโรคศิลปะตามคำนิยามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2497 และตามเจตนารมย์ตามประมวลรัษฎากร หมายความรวมถึง ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม การพยาบาล การผดุงครรภ์การพยาบาลและการผดุงครรภ์และเทคนิคการแพทย์ ตามพระราชบัญญัติตาม ข้อ 3.2 (1) - (3) ด้วย แต่ทั้งนี้ ค่าตอบแทนที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะได้รับจะถือเป็นเงินได้ ประเภทใด จะต้องพิจารณาตามลักษณะของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร 3. กรณีตามข้อเท็จจริง (1) เภสัชกร ไปปฏิบัติงานในสถานพยาบาลเอกชนเป็นครั้งคราวและได้รับค่าตอบแทน เป็นรายเดือน แต่ละเดือนไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับเวลาปฏิบัติงาน โดยคำนวณตามชั่วโมงการทำงานเป็นอัตรา ต่อเวรต่อชั่วโมง กรณีที่เป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (ก) เป็นบุคคลซึ่งได้รับทะเบียนและรับใบอนุญาต - เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน ในสาขาเภสัชกรรม ตาม พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พุทธศักราช 2479 หรือเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 และ (ข) ปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชกรรม ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 โดยขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมจากสภาเภสัชกรรม (ไม่รวมถึง การปฏิบัติงานในลักษณะงานธุรการ) ดังนี้ "วิชาชีพเภสัชกรรม" หมายความว่า วิชาชีพที่เกี่ยวกับการกระทำในการเตรียม ยา การผลิตยา การประดิษฐ์ยา การเลือกสรรยา การวิเคราะห์ยา การควบคุมและการประกันคุณภาพ ยา การปรุงและจ่ายยาตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม หรือ ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ รวมทั้งการดำเนินการปรุงยาและการขายยา ตามกฎหมายว่าด้วยยา"และ (ค) ได้รับค่าตอบแทนโดยคำนวณจากผลการปฏิบัติงานขึ้นอยู่กับความยากง่ายของ งานที่ทำ โดยต้องมีผู้มารับการรักษาถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร (2) พยาบาล ที่ไปปฏิบัติงานในสถานพยาบาลเอกชนและได้รับค่าตอบแทนเป็นราย เดือนไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับเวลาปฏิบัติงาน โดยคำนวณตามชั่วโมงการทำงานเป็นอัตราต่อเวรต่อชั่วโมง กรณีที่เป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (ก) เป็นบุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผน ปัจจุบัน ในสาขาการพยาบาล สาขาการผดุงครรภ์ หรือสาขาการพยาบาลและผดุงครรภ์ ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 หรือเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ การพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ โดยได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็น ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล วิชาชีพการผดุงครรภ์ หรือวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์จากสภา การพยาบาล ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 และ (ข) ปฏิบัติงานตามวิชาชีพ "การพยาบาล" หรือ "การผดุงครรภ์" ตาม พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 (ไม่รวมถึงพยาบาลที่ปฏิบัติงานใน ลักษณะงานธุรการ) ดังนี้ "การพยาบาล" หมายความว่า การกระทำในการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยเพื่อ บรรเทาอาการของโรค และการลุกลามของโรค การประเมินภาวะสุขภาพ การส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพ อนามัย และการป้องกันโรค รวมทั้งการช่วยเหลือแพทย์ และการกระทำตามคำสั่งในการรักษาโรคของ แพทย์ ทั้งนี้ โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์และศิลปะการพยาบาล "การผดุงครรภ์" หมายความว่า การตรวจ การแนะนำ การส่งเสริมสุขภาพ และการปฏิบัติต่อหญิงมีครรภ์ การป้องกันความผิดปกติในระยะตั้งครรภ์และระยะคลอด การทำคลอด การ ดูแลและส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารกในระยะหลังคลอด รวมทั้งการช่วยเหลือแพทย์และการกระทำ ตามคำสั่งในการรักษาโรคของแพทย์ ทั้งนี้ โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์และศิลปะการผดุงครรภ์ และ (ค) ได้รับค่าตอบแทนซึ่งคำนวณจากผลการปฏิบัติงานขึ้นอยู่กับความยากง่ายของ งานที่ทำ โดยต้องมีผู้มารับการรักษาถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร (3) เทคนิคการแพทย์ ไปปฏิบัติงานในสถานพยาบาลเอกชนเป็นครั้งคราว และได้รับ ค่าตอบแทนเป็นรายเดือน แต่ละเดือนไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับเวลาปฏิบัติงาน โดยคำนวณตามชั่วโมง การทำงานเป็นอัตราต่อเวรต่อชั่วโมง กรณีที่เป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (ก) เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน สาขาเทคนิคการแพทย์ โดยเป็นผู้ได้ขึ้น ทะเบียนและรับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พุทธศักราช 2479 และ (ข) ปฏิบัติงานด้านเทคนิคการแพทย์ ไม่รวมถึงการปฏิบัติงานในลักษณะงาน ธุรการ และ (ค) ได้รับค่าตอบแทนโดยคำนวณจากผลการปฏิบัติงานขึ้นอยู่กับความยากง่ายของ งานที่ทำ โดยต้องมีผู้มารับการรักษาถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (6) แห่ง ประมวลรัษฎากร 3.4 หากข้อเท็จจริง ไม่เข้าลักษณะตาม 3.3 ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) หรือ (2) แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811(กม)/1435 ลงวันที่ 07 สิงหาคม 2541 |