ประเภทเงินได้พึงประเมิน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการจ่ายเงินค่าตอบแทน
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการจ่ายเงินค่าตอบแทนข้อเท็จจริงมูลนิธิฯ มีวัตถุประสงค์ประกอบการศึกษา วิจัย รวบรวมข้อมูลด้านทรัพย์สินทางปัญญาและ ประกอบกิจการบริการทางวิชาการ โดยใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นส่วนสำคัญ มูลนิธิฯ ได้รับมอบหมายจาก บุคคลภายนอกให้เป็นที่ปรึกษาโครงการต่าง ๆ หลายโครงการ โดยได้รับเงินค่าตอบแทนในการ ดำเนินงานจากผู้มอบหมายแต่ละโครงการแยกต่างหากจากกัน ในการจ่ายเงินค่าที่ปรึกษาให้กับมูลนิธิ สถาบันฯ เจ้าของโครงการจะหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ร้อยละ 3 ของค่าบริการแต่ละงวด เมื่อมูลนิธิ สถาบันฯ ได้รับเงินค่าตอบแทนจากผู้มอบหมายแล้ว มูลนิธิสถาบันฯ ได้นำเงินเหล่านั้นจ่ายค่าตอบแทนแก่ บุคลากรและนักวิจัยซึ่งเป็นอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะปี พ.ศ. 2546 มีหัวหน้าทีมวิจัย ด้านกฎหมาย ซึ่งเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยคนหนึ่งได้รับเงินค่าตอบแทนจากมูลนิธิฯ ในการวิจัย หลายโครงการได้รับเงินหลายครั้งเป็นค่าตอบแทนประมาณ 3,000,000 บาท มูลนิธิฯ จึงหารือว่า การ จ่ายเงินค่าตอบแทนหัวหน้าทีมวิจัยด้านกฎหมายดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) หรือมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 40(2), มาตรา 40(8)แนววินิจฉัยกรณีมูลนิธิฯ จ่ายค่าตอบแทนในการเป็นที่ปรึกษาโครงการดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอกและ บุคลากรของมหาวิทยาลัยซึ่งไม่ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนประจำจากมูลนิธิฯ เงินค่าตอบแทนดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร หากหัวหน้าทีมวิจัยด้าน กฎหมายได้ทำร่วมกับบุคคลอื่นหรือมีลูกจ้างหรือสำนักงานและมีค่าใช้จ่ายในการบริหารง านจำนวนมาก เงินที่ได้รับเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/422 ลงวันที่ 19 มกราคม 2547 |