Skip to Content

ประมาณการ

ประมาณการกำไรสุทธิขาดไป ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีของดเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรประมาณการกำไรสุทธิขาดไป ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีของดเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีของดเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร


ข้อเท็จจริง

สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ ได้ส่งเรื่องของดเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่ง

ประมวลรัษฎากร ราย บริษัท ด. (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อให้กรมสรรพากรพิจารณา สรุป

ข้อเท็จจริงได้ดังนี้

1. ข้อเท็จจริง

(1) บริษัท ด. (ประเทศไทย) จำกัด จดทะเบียนนิติบุคคล เมื่อวันที่ 14 มกราคม

2541 และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2541 ประกอบกิจการนำเข้าและจำหน่าย

อะไหล่ และรถยนต์ยี่ห้อ เมอร์เซเดสเบนซ์ และจิ๊ป ในปี พ.ศ. 2541 อยู่ในระหว่างการจัดตั้งกิจการ

ยังไม่มีรายได้จากการประกอบกิจการและเริ่มประกอบกิจการในปี 2542

(2) บริษัทฯ ได้ยื่นคำร้องของดเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ที่

สพท. เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2543 กรณียื่นประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ

ในรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2542 โดยชี้แจงเหตุผลดังนี้

ก. บริษัทฯ เริ่มประกอบกิจการในปี 2542 และขณะนั้น บริษัทฯ มีปัญหา เกี่ยวกับ

การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศไทย ซึ่งยังไม่สามารถตกลงกับตัวแทนจำหน่ายเดิมได้ และราคารถยนต์ที่

นำเข้าบางรุ่นอยู่ในระหว่างการพิจารณาของกรมศุลกากร ทำให้ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2542 ก่อน

การยื่นแบบครึ่งปี บริษัทฯ จำหน่ายรถยนต์ได้เพียง 226 คัน

ข. ภายหลังจากบริษัทฯ ได้ยื่นแบบครึ่งปีของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2542 ปรากฏว่า

บริษัทฯ ได้ทำความตกลงกับตัวแทนจำหน่ายเดิมได้ และราคารถยนต์ที่นำเข้าส่วนใหญ่ได้รับการพิจารณา

จากกรมศุลกากรเรียบร้อย ประกอบกับลูกค้าได้เริ่มสั่งซื้อรถยนต์ของบริษัทฯ เนื่องจากรถยนต์ของบริษัทฯ

ขาดตลาดมาเป็นเวลานานมีผลทำให้ ยอดขายของบริษัทฯ ในช่วงเวลา 4 เดือนหลังของปี 2542 สูงถึง

866 คัน

2. ความเห็นของ สพท.

สพท. ได้พิจารณาข้อเท็จจริงและเหตุผลประกอบกับแนวทางการพิจารณาตามบันทึกที่

กค 0814/3892 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2539 เรื่อง แนวทางการพิจารณา "เหตุอันสมควร" ตามมาตรา

67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร เห็นว่า บริษัทฯ เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการในรอบระยะเวลา 6

เดือนหลัง ของรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการ จึงเห็นควรงดเงินเพิ่มตาม

มาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ให้บริษัทฯ ตามที่ขอ

3. ความเห็นของภาค

กรณีตามข้อเท็จจริง บริษัทฯ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ของรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2542

ประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ (ร้อยละ 73.16) โดยมีเหตุอันสมควร

ไม่ต้องรับผิดเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร โดยมีเหตุผลดังนี้

1. ในช่วงเดือนมกราคม - สิงหาคม 2542 บริษัทฯ ขายรถยนต์ได้ 226 คัน ซึ่งขณะนั้น

ราคารถยนต์ที่นำเข้าส่วนใหญ่ไม่ผ่านการอนุมัติจากกรมศุลกากร และยังไม่สามารถตกลง ซื้อรถยนต์จาก

ตัวแทนจำหน่ายเดิม (บริษัท ธ. จำกัด) ได้ แต่ต่อมาในเดือนกันยายน 2542 กรมศุลกากรได้อนุมัติให้

บริษัทฯ นำเข้ารถยนต์ได้ และบริษัทฯ สามารถตกลงซื้อ รถยนต์จากตัวแทนจำหน่ายเดิมได้ ทำให้ใน

เดือนกันยายน - ธันวาคม 2542 บริษัทฯ จำหน่ายรถยนต์ได้มากถึง 866 คัน

2. บริษัทฯ ได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 ของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2542 สำหรับรายรับเดือน

มกราคม - สิงหาคม เป็นเงิน 1,320,211,938.59 บาท และรายรับเดือนกันยายน - ธันวาคม เป็น

เงิน 2,825,403,303.66 บาท และรายรับของบริษัทฯ จะสูงมากในเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2542

ภาค เห็นว่า กรณีตามข้อเท็จจริงดังกล่าวถือได้ว่ามีเหตุอันสมควร จึงไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม

ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร นั้น


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 67 ตรี

แนววินิจฉัย

กรณีดังกล่าวเป็นกรณีที่บริษัทฯ ไม่อาจคาดการณ์ได้ล่วงหน้าและเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจาก

บริษัทฯ ได้ยื่นประมาณการกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.51 แล้ว ถือได้ว่า บริษัทฯ ได้ยื่นประมาณการ

กำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ ซึ่งได้จากกิจการโดยมีเหตุอัน สมควร ไม่ต้องเสีย

เงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/9136 ลงวันที่ 18 กันยายน 2544

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)