Skip to Content

ประมาณการกำไรสุทธิขาดไป ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีภาษีที่ค้างชำระจากแบบแสดงรายการตามประมาณการกำไรสุทธิ (ภ.ง.ด.51)

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีภาษีที่ค้างชำระจากแบบแสดงรายการตามประมาณการกำไรสุทธิ (ภ.ง.ด.51)


ข้อเท็จจริง

บริษัทฯ ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) สำหรับ

รอบระยะเวลาบัญชีปี 2540 โดยแสดงประมาณการว่ามีกำไรสุทธิและในการคำนวณภาษีจากกึ่งหนึ่งของ

ประมาณการกำไรสุทธิปรากฏว่าบริษัทฯมีภาษีที่ต้องชำระจำนวน 14,916,275.22 บาท แต่ได้ยื่นชำระ

ไว้เพียง 100,000 บาท จึงมีภาษีค้างชำระจำนวน 14,816,275.22 บาท อย่างไรก็ตามบริษัทฯ มีผล

การดำเนินงานตลอดปี 2540 มียอดขาดทุนสุทธิจำนวน 923,913,548.83 บาท เมื่อบริษัทฯ ไม่มีภาษี

ต้องเสีย แม้จะมิได้ชำระภาษีกลางปี หรือชำระไว้บางส่วน ภาษีดังกล่าวก็มิใช่ภาษีอากรซึ่งต้องเสียและ

ไม่ถือเป็นภาษีอากรค้างตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร จึงขอให้พิจารณาสั่งระงับการคิดเงินเพิ่ม

ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับภาษีกลางปีที่ค้างชำระ และพิจารณาสั่งระงับการยึดทรัพย์

ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 67 ทวิ, มาตรา 12

แนววินิจฉัย

บริษัทฯ มีหน้าที่ยื่นรายการพร้อมกับชำระภาษีภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบ

ระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีโดยให้คำนวณและชำระภาษีจากจำนวนกึ่งหนึ่ง

ของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ

จึงต้องชำระภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลา การที่บริษัทฯ ได้ยื่นประมาณการกำไรสุทธิภายใน

กำหนดเวลาพร้อมกับชำระภาษีเพียงบางส่วนเท่านั้น ภาษีส่วนที่ค้างชำระจึงเป็นหนี้ภาษีอากรค้างตาม

มาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน

ของเงินภาษีที่ต้องเสีย ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร และเพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้าง

อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของบริษัทฯ ตามมาตรา 12 แห่ง

ประมวลรัษฎากร




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/3519 ลงวันที่ 03 พฤษภาคม 2543

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)