Skip to Content

ประกันชีวิต/ประกันภัย ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีแยกธุรกิจประกันชีวิต และประกันวินาศภัยออกจากกัน

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีแยกธุรกิจประกันชีวิต และประกันวินาศภัยออกจากกัน


ข้อเท็จจริง

บริษัทฯ ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัยในบริษัทเดียวกัน

ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการประกันชีวิตและประกันวินาศภัย กำหนดให้บริษัทฯ ต้องแยกธุรกิจ

ทั้งสองออกจากกันโดยการจัดตั้งบริษัทขึ้นใหม่ บริษัทฯ จึงกำหนดเป็นนโยบายว่าบริษัทฯ จะแยกธุรกิจ

ดังกล่าวออกจากกันโดยโอนบรรดาทรัพย์สิน หนี้สิน เงินทุนจดทะเบียน ขาดทุนสะสม ความรับผิดชอบตาม

กรมธรรม์ประกันภัยตลอดจนพนักงานและลูกจ้างในส่วนของแต่ละธุรกิจไปจัดตั้งเป็นบริษัทใหม่ เพราะ

บริษัทมีการแยกบัญชีระหว่างธุรกิจทั้งสองออกจากกันอยู่แล้ว ในการแยกธุรกิจดังกล่าวออกจากกัน บริษัทฯ

ขอทราบว่า

1. บริษัทผู้รับโอนจะได้รับยกเว้นภาษีหรือไม่

2. บริษัทผู้รับโอนจะต้องปฏิบัติอย่างไรเกี่ยวกับขาดทุนสะสมดังกล่าว


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 56, มาตรา 56 ตรี, มาตรา 56 ทวิ, พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 282), (ฉบับที่ 283) พ.ศ.2539

แนววินิจฉัย

1. การโอนทรัพย์สินเพื่อแยกบริษัทที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต และบริษัทที่ได้

รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยออกจากกัน ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาฯ

(ฉบับที่ 282) พ.ศ. 2538 และได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 283)

พ.ศ. 2538

2. กรณีแยกบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต และได้รับใบอนุญาตประกอบ

ธุรกิจประกันวินาศภัยออกจากกัน ตามพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการประกันชีวิตและพระราชบัญญัติเกี่ยวกับ

การประกันวินาศภัย บริษัทฯ จะแยกธุรกิจดังกล่าวโดยการโอนทรัพย์สิน หนี้สิน เงินทุนจดทะเบียนและ

ขาดทุนสะสมไปยังบริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่บริษัทฯ ย่อมกระทำได้ตามหลักการทางบัญชี แต่ในส่วนของขาดทุน

สะสมที่โอนไปยังบริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่ไม่สามารถนำผลขาดทุนสะสมดังกล่าวมาหักในการคำนวณกำไรสุทธิ

เพื่อเสียภาษีเงินได้ของบริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่ได้ เนื่องจากการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสีย

ภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามมาตรา 65 มาตรา 65 ทวิ

และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/02557 ลงวันที่ 22 มีนาคม 2542

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)