Skip to Content

บริษัทในเครือเดียวกันให้กู้ยืมเงินกันเอง ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการให้บริษัทในเครือกู้ยืมเงิน

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการให้บริษัทในเครือกู้ยืมเงิน


ข้อเท็จจริง

บริษัท YY ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยบริษัทฯ ถือหุ้นเป็นจำนวน ร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด เนื่องจาก YY ได้ขอกู้ยืมเงินจากบริษัทฯ จำนวน 8,000,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา และตกลงจะชำระดอกเบี้ยให้แก่บริษัทฯ ในอัตราร้อยละ 7.0 ต่อปี บริษัทฯ จึงขอทราบว่า

1. กรณีบริษัทฯ ได้รับดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเงินนั้น บริษัทฯ ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะใน อัตราร้อยละ 3.3 หรือไม่

2. กรณีที่ YY ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในอัตราร้อยละ 15 ตามกฎหมาย ของสาธารณรัฐประชาชนจีนนั้น บริษัทฯ มีสิทธินำเอกสารการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่ได้รับจาก YY มาใช้เป็น เครดิตในการคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้หรือไม่ อย่างไร


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 91/2(5) และมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร

แนววินิจฉัย

1. กรณีบริษัทฯ ถือหุ้นทั้งหมดใน YY ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในสาธารณรัฐประชาชนจีน และ YY ได้กู้ยืมเงินจากบริษัทฯ เป็นจำนวน 8,000,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา โดยตกลงจะชำระดอกเบี้ยในอัตรา ร้อยละ 7.0 นั้น หากบริษัทฯ ถือหุ้นใน YY ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงใน YY เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือนก่อนวันที่มีการกู้ยืม ย่อมถือได้ว่า เป็นกรณีที่บริษัทในเครือเดียวกันให้กู้ยืมเงิน กันเอง ซึ่งบริษัทฯ ไม่ต้องนำดอกเบี้ยที่ได้รับจากการให้กู้ยืมดังกล่าว ไปรวมคำนวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษี ธุรกิจเฉพาะ กรณีเทียบได้กับแนวปฏิบัติที่กรมสรรพากรได้วางไว้ตามข้อ 2 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.26/2534ฯ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2534

2. กรณี YY จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่บริษัทฯ และถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมเข้าลักษณะเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการตามมาตรา 65 แห่งประมวล รัษฎากร บริษัทฯ ต้องนำดอกเบี้ยดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยมีสิทธินำภาษี เงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซึ่งถูกหักไว้ในสาธารณรัฐประชาชนจีนมาถือเป็นเครดิตในการคำนวณกำไรสุทธิ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องชำระในประเทศไทยซึ่งได้คำนวณไว้ก่อนที่จะให้เครดิต ดังกล่าว ตามข้อ 23 ของความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐ- ประชาชนจีน เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/1624 ลงวันที่ 18 เมษายน 2551

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)