บริจาค ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริจาคเงินให้แก่มูลนิธิที่ได้รับการประกาศ
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริจาคเงินให้แก่มูลนิธิที่ได้รับการประกาศข้อเท็จจริงมูลนิธิฯ ได้รับการประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศลตามประมวลรัษฎากร คณะกรรมการมูลนิธิฯ ได้มีมติให้จัดตั้งกองทุนขึ้นในมูลนิธิฯ เพื่อรณรงค์หารายได้นำมาบูรณะพระราชวัง พ. เนื่องจากเห็นว่า พระราชวัง พ. ซึ่งได้รับ การประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานจากกรมศิลปากร มีสภาพทรุดโทรมและจะมีอายุครบ 100 ปี ในปี พ.ศ. 2553 โดย จะมีการเฉลิมฉลองและบูรณะครั้งใหญ่ มูลนิธิฯ ขอหารือว่า การรับบริจาคเงินผ่านกองทุนฯ ของมูลนิธิฯ เพื่อบูรณะพระราชวัง พ. สามารถดำเนินการได้หรือไม่ อย่างไร กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 47(7)(ข) และมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากรแนววินิจฉัยมูลนิธิฯ ได้รับการประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล ตามประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วย ภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาลและสถานศึกษา ตาม มาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3(4)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ไม่เข้าลักษณะเป็นบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามบทนิยามในมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร มูลนิธิฯ ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และหากมีผู้บริจาคเงินให้แก่มูลนิธิฯ โดยมูลนิธิฯ ได้ออกหลักฐานการรับบริจาคให้แก่ผู้บริจาค ผู้บริจาคมีสิทธิดังนี้ 1. กรณีบุคคลธรรมดาบริจาคเงินให้แก่มูลนิธิฯ ผู้บริจาคมีสิทธินำเงินบริจาคไปหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณเงินได้สุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้เท่าจำนวนที่บริจาค แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินที่เหลือหลังจากหัก ค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนอื่นๆ แล้ว และต้องบริจาคเป็นเงินเท่านั้น ทั้งนี้ ตามมาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร 2. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเงินหรือบริจาคทรัพย์สินให้แก่มูลนิธิฯ เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธินำเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาค มาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคล ในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/3439 ลงวันที่ 07 พฤษภาคม 2552 |