Skip to Content

ตีราคาทรัพย์สิน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการรับซื้อฝากที่ดิน

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการรับซื้อฝากที่ดิน


ข้อเท็จจริง

นาย ก ได้รับซื้อฝากที่ดินจากนางสาว ข, นางสาว ค, นาย ง, นางสาว จ, นางสาว

ฉ และนาย ช เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2537 เป็นเงิน 12,000,000 บาท กำหนดระยะเวลาไถ่ถอน 1

ปี ผู้ขายฝากไม่มาไถ่ถอนตามกำหนดเวลาที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนาง ก จึงขอทราบว่า

กรณีการได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์โดยเด็ดขาดจากการรับซื้อฝากที่ดินดังกล่าว จะต้องเสียภาษี

หรือไม่ และถ้าต้องเสียจะนำราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและ

นิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดยเด็ดขาดจาก

การขายฝากเป็นเงินได้พึงประเมินได้หรือไม่ เนื่องจากปัจจุบันราคาที่ดินลดต่ำลงมากแม้ได้บอกขายใน

ราคาประเมินก็ไม่สามารถขายได้


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 9 ทวิ, มาตรา 40

แนววินิจฉัย

กรณีตามข้อเท็จจริง นาย ก รับซื้อฝากที่ดินแปลงดังกล่าวข้างต้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม

2537 มีกำหนดระยะเวลาไถ่ถอน 1 ปี เมื่อผู้ขายฝากไม่ไถ่ถอนภายในกำหนดเวลา นาย ก จึงได้

กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์โดยเด็ดขาดจากการขายฝาก เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา

40(8) แห่งประมวลรัษฎากร นาย ก จะต้องนำเงินได้พึงประเมินจากการได้กรรมสิทธิ์ใน

อสังหาริมทรัพย์โดยเด็ดขาดจากการขายฝากดังกล่าวไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดย

เงินได้พึงประเมินให้ถือตามราคาหรือค่าอันพึงมีของอสังหาริมทรัพย์ในวันที่อสังหาริมทรัพย์หลุดเป็นสิทธิ์

โดยเด็ดขาด ตามมาตรา 9 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร กรณีไม่อาจหาราคาหรือค่าอันพึงมีของ

อสังหาริมทรัพย์ได้ จะถือราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม

ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดยเด็ดขาดจากการขาย

ฝากก็ได้




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/02537 ลงวันที่ 19 มีนาคม 2542

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)