ดอกเบี้ย ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากการประมูลพันธบัตรรัฐบาล
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากการประมูลพันธบัตรรัฐบาลข้อเท็จจริงกรณีผู้ประมูลพันธบัตรรัฐบาลซึ่งออกโดยกระทรวงการคลังและธนาคารฯ เป็นผู้จัด จำหน่ายจ่ายเงินน้อยกว่าราคาตราในพันธบัตรถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ธนาคารฯ มีหน้าที่ต้องหัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย นั้น ธนาคารฯ หารือเกี่ยวกับการประมูลพันธบัตร ดังนี้ 1 พันบัตรรัฐบาลดังกล่าวจะทยอยประมูล 4 ครั้ง ในการประมูลแต่ละครั้งจะลงวันที่ใน พันธบัตรเป็นวันเดียวกัน คือ วันที่ 7 กรกฎาคม 2543 และจะคำนวณดอกเบี้ยให้กับผู้ซื้อตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2543 เหมือนกัน ไม่ว่าจะประมูลในครั้งที่เท่าไรก็ตาม 2. พันธบัตรรัฐบาลที่ประมูลตั้งแต่ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป จะมีดอกเบี้ยค้างรับซึ่งผู้ประมูลได้จะได้ รับในอีก 6 เดือนข้างหน้าคือวันที่ 7 มกราคม 2544 3. ในการประมูลผู้ประมูลจะเสนอเฉพาะอัตราร้อยละของผลตอบแทน ซึ่งธนาคารฯ จะเป็น ผู้นำข้อเสนอนั้นมาคำนวณหาจำนวนเงินที่ผู้ประมูลเสนอเป็นค่าพันธบัตรต่อไป ธนาคารฯ จึงขอทราบว่าธนาคารฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ และหากต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ควรจะใช้วิธีใดในการคำนวณจำนวนเงินที่จะนำมาเปรียบเทียบกับราคาตราในพันธบัตร ดังนี้ (ก) ใช้จำนวนเงินที่ผู้ประมูลเสนอเป็นค่าพันธบัตร (Dirty Price) เปรียบเทียบกับราคา ตรา หาก Dirty Price ต่ำกว่าราคาตราธนาคารฯ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ อย่างไร (ข) ใช้จำนวนเงินที่ผู้ประมูลเสนอเป็นค่าพันธบัตรหักด้วยดอกเบี้ยค้างรับ (Cl ean-Price) เปรียบเทียบกับราคาตรา หาก Clean Price ต่ำกว่าราคาตราธนาคารฯ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ อย่างไร กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 40(4)(ก)แนววินิจฉัยหากจำนวนเงินที่ผู้ประมูลเสนอเป็นค่าพันธบัตร (Dirty Price) ต่ำกว่าราคาตรา ส่วนต่าง ดังกล่าวเป็นผลตอบแทนที่ผู้ประมูลจะได้รับจากกระทรวงการคลัง โดยหักออกจากจำนวนเงินที่ผู้ประมูล ต้องจ่ายเป็นค่าพันธบัตร ผลตอบแทนดังกล่าวมีลักษณะทำนองเดียวกับดอกเบี้ย ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ธนาคารฯ มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อ 1. และข้อ 2. ของ หนังสือที่ กค 0811/6126 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2543 ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/5594 ลงวันที่ 01 มิถุนายน 2544 |