Skip to Content

ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประนอมหนี้โดยการลดหนี้

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประนอมหนี้โดยการลดหนี้


ข้อเท็จจริง

บริษัทฯ ได้ทำสัญญาว่าจ้างผู้รับเหมาให้ดำเนินการติดตั้งและวางระบบโทรศัพท์ โดยมี

เงื่อนไขการชำระเงินตามที่ระบุในสัญญา ปัจจุบันงานก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย และมีการออกใบแจ้งหนี้

แล้วแต่ยังไม่ได้มีการชำระเงิน

เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันบริษัทฯ และผู้รับเหมาต่างประสบปัญหาสภาพคล่องทาง

ด้านการเงิน บริษัทฯ ได้ขอเจรจาประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ (ผู้รับเหมา) และเจ้าหนี้ตกลงลดหนี้ให้กับบริษัทฯ

เป็นอัตราร้อยละของหนี้ที่ค้างอยู่แล้ว แต่การเจรจากับเจ้าหนี้ในแต่ละราย โดยทั้งสองฝ่ายจะทำบันทึก

แนบท้ายสัญญาซึ่งบริษัทจะชำระหนี้ตามจำนวนที่หักส่วนลดแล้วบริษัทฯ ขอทราบว่า

1. การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจะคำนวณจากยอดก่อนหรือหลังจากที่หักส่วนลดแล้ว

2. การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย จะคำนวณจากยอดเงินที่ชำระจริงใช่หรือไม่

3. ทางด้านบริษัทซึ่งเป็นลูกหนี้ จะต้องนำส่วนลดนี้มารวมในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสีย

ภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 40, มาตรา 65, มาตรา 79, กฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)ฯ, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528ฯ

แนววินิจฉัย

กรณีตามข้อเท็จจริงเนื่องจากการประนอมหนี้ดังกล่าว ไม่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์

การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดตาม

พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 325) พ.ศ.

2541 และกฎกระทรวงฉบับที่ 212 (พ.ศ. 2541) บริษัทฯ จึงมีภาระภาษีดังนี้

1. กรณีตาม 1. การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องคำนวณจากยอดเงินตามที่ระบุในสัญญา

ก่อนหักส่วนลด เนื่องจากไม่ใช่ส่วนลดที่ได้ลดให้ในขณะให้บริการและได้หักส่วนลดดังกล่าวออกจากราคา

ค่าบริการตามมาตรา 79 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

2. กรณีตาม 2. การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย บริษัทฯ จะต้องคำนวณหัก

ภาษีเงินได้ไว้ทุกครั้งที่จ่ายและคำนวณจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายจริงเท่านั้น ทั้งนี้ ตาม

คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่ง

ประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

3. กรณีตาม 3. บริษัทฯ ซึ่งเป็นลูกหนี้จะต้องนำส่วนลดดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นรายได้

เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเนื่องจากถือเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการตามมาตรา 65 แห่ง

ประมวลรัษฎากรและเจ้าหนี้ที่ลดหนี้ให้กับบริษัทฯ ก็ไม่สามารถนำส่วนลดดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการ

คำนวณกำไรสุทธิได้เนื่องจากไม่ใช่หนี้สูญตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/17056 ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2541

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)