Skip to Content

จ้างทำของ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักภาษี ณ ที่จ่าย

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักภาษี ณ ที่จ่าย


ข้อเท็จจริง

บริษัท C ประกอบกิจการห้างสรรพสินค้า ในระหว่างที่ยังไม่มีสถานประกอบการได้มอบอำนาจให้บริษัท A ในกรุงเทพมหานคร กระทำการแทนในการจ่ายค่าก่อสร้างห้างสรรพสินค้า

ให้แก่บริษัทผู้รับจ้าง การหักภาษี ณ ที่จ่าย และการนำส่งภาษีแทนบริษัท C และบริษัท A จะเรียกเก็บเงินคืนจากบริษัท C ในภายหลังเท่ากับจำนวนเงินที่จ่ายไปก่อน ทั้งนี้ บริษัท A

ดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับค่าก่อสร้างห้างสรรพสินค้า และนำส่งกรมสรรพากรในนามของบริษัท A ไว้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่บริษัท A ตั้งอยู่

กรณีดังกล่าว บริษัท C ขออนุโลมให้ถือว่า ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งไว้ครบถ้วนแล้ว ได้หรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร และคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

แนววินิจฉัย

1. ตามสัญญาร่วมลงทุน ระหว่าง บริษัท A กับบริษัท B จำกัด ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2538 ทั้งสองบริษัทตกลงเข้าร่วมลงทุนเพื่อจัดตั้งบริษัท C จำกัด ขึ้นเพื่อประกอบกิจการ

ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าในจังหวัดจันทบุรี โดยบริษัท A ถือหุ้นในบริษัท C ร้อยละ 65 ของทุนจดทะเบียนทั้งหมดและเป็นผู้ดำเนินการบริหารและจัดการห้างสรรพสินค้าใหม่

2. ตามสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างโครงการห้างสรรพสินค้า ระหว่าง บริษัท C (ผู้ว่าจ้าง) กับ บริษัท D จำกัด (ผู้รับจ้าง) เมื่อปี 2539 ผู้ว่าจ้างตกลงให้ผู้รับจ้างก่อสร้าง

อาคารห้างสรรพสินค้า เป็นจำนวนเงิน 191 ล้านบาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น หากมีการจ่ายเงินตามสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างดังกล่าว บริษัท C ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตาม

มาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร จึงเป็นผู้มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน

พ.ศ. 2528

3. กรณีตามข้อเท็จจริง การจ่ายเงินค่าก่อสร้างโครงการห้างสรรพสินค้า บริษัท C ได้มอบอำนาจให้บริษัท A ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจในการจ่ายค่าก่อสร้างการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตลอดทั้ง

การนำส่งภาษีเงินได้แทนบริษัท C ก็สามารถกระทำได้ แต่บริษัท A ซึ่งเป็นตัวแทนจะต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายในนามของบริษัท C ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงิน และต้องยื่นรายการ

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายในนามของ บริษัท C

4. เนื่องจากบริษัท A ซึ่งเป็นตัวแทนได้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายและยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ในนามของบริษัท A โดยมิได้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

และยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ในนามบริษัท C กรณีจึงเป็นการหักภาษีและนำส่งผิดหน่วยภาษี แต่อย่างไรก็ดี บริษัท C ได้จ่ายค่าก่อสร้างและค่าใช้จ่ายต่างๆ สำหรับการก่อสร้างโครงการ

ห้างสรรพสินค้า และได้นำค่าก่อสร้างดังกล่าว มาบันทึกเป็นต้นทุนของบริษัท C ประกอบกับบริษัททั้งสองเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน และกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท A เป็นบุคคลคน

เดียวกันกับกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท C ซึ่งได้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจฉบับลงวันที่ 1 มีนาคม 2539 ทั้งในฐานะผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้พนักงาน

ของบริษัท A สับสน จึงได้นำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ในนามบริษัท A เมื่อพิจารณาจากพฤติการณ์และความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทฯ ทั้งสองแล้วแสดงให้เห็นว่า มิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี และโดย

ที่เงินค่าก่อสร้างได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งไว้แล้ว จึงเห็นควรอนุโลมให้ถือว่าบริษัท C ได้ยื่นแบบแสดงรายการ และนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ไว้แล้ว




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/193 ลงวันที่ 17 มกราคม 2549

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)