จ่ายเงินได้ไปต่างประเทศ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีเงินได้ที่ได้รับจากการขายหลักทรัพย์
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีเงินได้ที่ได้รับจากการขายหลักทรัพย์ข้อเท็จจริงบริษัทที่ปรึกษากฎหมายและภาษีอากร พ. (ซึ่งต่อไปเรียกว่า “สำนักงานฯ) เป็นบริษัทที่ ดำเนินกิจการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับด้านกฎหมายและภาษีอากร แก่ผู้ลงทุนทั้งในและต่างประเทศ สำนักงานฯ ขอหารือเกี่ยวกับภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีเงินได้ ที่ได้รับจากการขายหลักทรัพย์ โดยมีข้อเท็จจริงสรุปได้ดังนี้ ธนาคาร ซ. เป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศ ประกอบกิจการธนาคารในประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ธุรกรรมประเภทหนึ่งที่ธนาคารฯ ดำเนินการ คือ การดูแลเก็บรักษา หลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้า รวมถึงการเป็นผู้ทำการขายหลักทรัพย์แทนลูกค้า ปัจจุบันหลักทรัพย์ไทยที่ธนาคารฯ ดูแลเก็บรักษาจะระบุชื่อ “บริษัท ค-US Nominee ของธนาคารฯ” เป็นผู้ถือหลักทรัพย์ ธนาคารฯ มี ความประสงค์จะโอนการถือหลักทรัพย์ โดยธนาคารฯ จะโอนหลักทรัพย์ทั้งหมดที่ปัจจุบันจดทะเบียนในนาม ของ “บริษัท ค-US Nominee ของธนาคารฯ” ไปจดทะเบียน ในนามของ “บริษัท ง – Singapore Nominee ของธนาคารฯ” (บริษัท ง เป็นบริษัทซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศสิงคโปร์) ภายหลัง การโอนทะเบียนหลักทรัพย์ สาขาในประเทศสิงคโปร์ของธนาคารฯ จะเป็นผู้ให้บริการเก็บรักษา หลักทรัพย์ที่รับโอนมาและจะเป็นผู้ทำการแทนขายหลักทรัพย์แทนลูกค้า โดยบริษัท ง จะเป็นตัวแทนถือ หลักทรัพย์แทนลูกค้าของธนาคารฯ และจะมีชื่อเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ในทะเบียนผู้ถือหุ้น บริษัท ง ไม่มีหน้าที่ อื่นนอกจากการเป็นผู้มีชื่อในฐานะเป็นเจ้าของหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงจากการขาย หลักทรัพย์ดังกล่าวได้แก่ ลูกค้าของธนาคารฯ ซึ่งมิได้เป็นผู้มีถิ่นอยู่ในประเทศสิงคโปร์ เนื่องจากกำไร จากการขายหลักทรัพย์ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ช) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อบริษัท ไทยจ่ายเงินได้ดังกล่าวออกไปให้แก่บริษัท ง ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและมิได้ ประกอบกิจการในประเทศไทย บริษัทไทยผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักและนำส่งภาษีให้แก่กรมสรรพากรตาม มาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่จะมีอนุสัญญาภาษีซ้อนกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตามอนุสัญญา ภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐสิงคโปร์ ได้ยกเว้นภาษีเงินได้จากกำไรจากการขาย หลักทรัพย์ให้แก่ผู้มีเงินได้ที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสิงคโปร์ และให้เก็บภาษีได้ในประเทศสิงคโปร์เท่านั้น ดังนั้น หากบริษัท ง ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของหลักทรัพย์ เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศสิงคโปร์และ เป็นผู้มีภูมิลำเนาถิ่นที่อยู่ในประเทศสิงคโปร์ บริษัท ง จะได้สิทธิยกเว้นภาษีตามอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่าง ประเทศไทยและสาธารณรัฐสิงคโปร์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 70แนววินิจฉัยบริษัทผู้มีหน้าที่เสียภาษีจากผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40(4)(ช) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่บริษัทที่มีชื่อปรากฏในทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้ออกหุ้น เมื่อบริษัทตัวแทนค้าหลักทรัพย์ในประเทศไทยจ่ายเงินได้ที่เป็นผลประโยชน์จากการโอนหุ้นออกไปให้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจการใน ประเทศไทย บริษัทตัวแทนค้าหลักทรัพย์ในประเทศไทยมีหน้าที่หักและนำส่งภาษีในอัตราร้อยละ 15 แล้ว นำภาษีดังกล่าวส่งกรมสรรพากรภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายตามมาตรา 70 แห่ง ประมวลรัษฎากร เว้นแต่ จะมีอนุสัญญาภาษีซ้อนกำหนดเป็นอย่างอื่น กรณีตามข้อเท็จจริง ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจากผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ได้แก่ บริษัท ง ซึ่งเป็นบริษัทที่มีชื่อปรากฏในทะเบียนผู้ถือหุ้น ถึงแม้บริษัท ง. จะเป็นตัวแทนในการถือหลักทรัพย์ให้กับ ลูกค้าของธนาคารฯ บริษัท ง จึงต้องถูกหักภาษีจากเงินที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 ตามมาตรา 70 แห่ง ประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบริษัท ง เป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของ ประเทศสิงคโปร์ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย และเป็นประเทศที่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับ ประเทศไทย ผลได้จากทุนหรือกำไรจากการขายหลักทรัพย์ ตามข้อ 13 ของอนุสัญญา เพื่อการเว้น การเก็บภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐสิงคโปร์ กำหนดให้ประเทศที่ผู้มีเงินได้มีถิ่นอยู่เป็นผู้ จัดเก็บ ดังนั้น บริษัท ง จึงไม่ต้องถูกหักภาษีจากเงินที่จ่ายตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ อย่างใด ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/3104 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2547 |