Skip to Content

จ่ายเงินได้ไปต่างประเทศ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักและนำส่งภาษี ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักและนำส่งภาษี ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร


ข้อเท็จจริง

บริษัท ก. จำกัด หารือการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีบริษัทฯ

จัดการฝึกอบรมพัฒนาพนักงานของบริษัทฯ โดยว่าจ้างให้ A. Pte. Ltd. ประเทศสิงคโปร์ จัดส่ง

วิทยากรจากประเทศสิงคโปร์เข้ามา ซึ่งการอบรมดังกล่าวบริษัทฯ แจ้งว่าเป็นการอบรมทั่วไปทางด้าน

การจัดการ การบริหาร การกำหนดและการพัฒนาตนเอง ให้แก่พนักงานประมาณปีละ 4 ครั้ง โดยแต่ละ

ครั้งวิทยากรจะทำการอบรมประมาณ 2-3 วัน และ A. Pte.Ltd. จะส่งใบแจ้งหนี้ (Invoice)

เรียกเก็บเงินค่าบริการ ดังนี้

ค่าบริการ จำนวนเงิน (SG D)

1. Seminar Fee 3,000.-

2. Air Ticket 1,700.-

3. Travelling Expense 300.-

รวม 5,000.-

บริษัทฯ จึงหารือว่า

1. บริษัทฯ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราใด

2. บริษัทฯ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย จากยอดรวม 5,000 SGD หรือจากค่า Seminar Fee

3,000 SGD


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 40(2), มาตรา 83/6, มาตรา 86/14

แนววินิจฉัย

กรณีการให้บริการของ A. Pte.Ltd. โดยจัดส่งวิทยากรจากประเทศสิงคโปร์ เข้ามา

ฝึกอบรมและให้คำแนะนำปรึกษาในการทำงานแก่พนักงานของบริษัทฯ ในประเทศไทยตามข้อเท็จจริง

หากการให้บริการข้างต้นเป็นการให้บริการที่ไม่มีความสลับซับซ้อนหรือไม่ต้องใช้เทคโนโลยีสูง เงินหรือ

ค่าตอบแทนที่จ่ายจากการรับทำงานให้ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร และเข้า

ลักษณะเป็นกำไรจากธุรกิจ ถ้า A. Pte.Ltd. ไม่มีสถานประกอบการประจำในประเทศไทย และโดยที่

การให้บริการดังกล่าวเป็นเพียงการส่งวิทยากรเข้ามาอบรมพนักงานของบริษัทฯ ในประเทศไทยประมาณ

ปีละ 4 ครั้ง ๆ ละ 2-3 วัน กรณียังถือไม่ได้ว่า A.Pte.Ltd. มีสถานประกอบการถาวรใน

ประเทศไทย จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทยจากค่าตอบแทนที่ได้รับ ทั้งนี้ ตาม

ข้อ 5 และข้อ 7 วรรค 1. แห่งอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ ระหว่าง

รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ ดังนั้น เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่าตอบแทนให้

A. Pte.Ltd. บริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคลนำส่งกรมสรรพากรแต่อย่างใด และ

เนื่องจาก A. Pte.Ltd. เป็นผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรซึ่งได้เข้ามาประกอบกิจการ

ให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่าตอบแทนดังกล่าวให้กับ A. Pte.Ltd.

บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องนำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร และใบเสร็จรับเงิน

ที่กรมสรรพากรออกให้ ถือเป็นใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/14 แห่งประมวลรัษฎากร




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811(กม.07)/1454 ลงวันที่ 15 กันยายน 2543

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)