Skip to Content

จ่ายเงินได้ไปต่างประเทศ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายเงินได้ไปต่างประเทศ

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายเงินได้ไปต่างประเทศ


ข้อเท็จจริง

1. บริษัทฯ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ ประกอบกิจการขายปลีก ให้บริการเช่าซื้อ และ

ให้เช่าแบบธุรกิจลิสซิ่งยานพาหนะทุกชนิด ผลการตรวจพบว่า บริษัทฯ ได้จ่ายค่าบริการเกี่ยวกับระบบ

คอมพิวเตอร์และบริการทั่วไปที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบธุรกิจเช่าซื้อ (Leasing) ให้กับบริษัท เครดิต

ประเทศออสเตรเลีย และบริษัท มอเตอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทั้งบริษัทฯ บริษัท เครดิต และ

บริษัท มอเตอร์ ต่างก็เป็นบริษัทในเครือของ Company ประเทศสหรัฐอเมริกา รายละเอียดข้อเท็จจริง

เป็นดังนี้

1.1 สัญญาการให้บริการระหว่างบริษัทฯ (ผู้รับบริการ) กับบริษัท เครดิต (ผู้ให้บริการ)

มีรายละเอียดดังนี้

(ก) บริษัท เครดิต (ผู้ให้บริการ) ประกอบธุรกิจหลัก คือ ให้บริการด้านการเงิน

กับผู้จำหน่ายรถยนต์ และลูกค้าปลีกของผู้จำหน่ายรถยนต์เช่าซื้อ (leasing) และนอกจากธุรกิจหลักแล้ว

บริษัทฯ ยังได้ให้บริการด้านงานระบบคอมพิวเตอร์ และบริการทั่วไปแก่กลุ่มบริษัทในเครือของบริษัท

Company ด้วย

บริการด้านงานระบบคอมพิวเตอร์ คือ การให้บริการด้านระบบคอมพิวเตอร์

และโปรแกรมทางบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจ Leasing ในประเทศไทย

บริการด้านบริการทั่วไป คือ การให้บริการด้านการวางแผนในเชิงกลยุทธ์

การวิเคราะห์งบการเงิน การบัญชี การควบคุมภายใน การวางแผนองค์กร บุคลากร กฎหมาย

การปฏิบัติงานและนโยบายด้านสินเชื่อ การตลาด การปรับปรุงคุณภาพ การฝึกอบรม รวมทั้งพัฒนาหรือ

จัดหาให้ซึ่งความรู้เพื่อรองรับในการขยายตัวบริการทางการเงินดังกล่าว (Leasing) ของผู้รับบริการที่

เพิ่มขึ้น รวมทั้งให้บริการเพิ่มเติมทั้งในด้านองค์กรธุรกิจ การเงิน การบัญชี กฎหมาย ทรัพยากรมนุษย์ ฯลฯ

ในการให้บริการด้านงานระบบและบริการทั่วไปจะให้บริการเฉพาะกลุ่ม

บริษัทในเครือเท่านั้น ไม่มีการให้ความช่วยเหลือหรือให้บริการดังกล่าวแก่บุคคลภายนอกแต่อย่างใด

บริษัท ฟอร์ด เครดิตฯ ได้ก่อตั้งและดำเนินธุรกิจมาแล้วประมาณ 25 ปี มีความรู้ประสบการณ์ ความ

ชำนาญ และ/หรือความเชี่ยวชาญ ทางด้านพาณิชยกรรม และระบบงานเช่าซื้อเป็นอย่างดี (เช่น ระบบ

บัญชี การรายงาน วิเคราะห์สินเชื่อ การบัญชีลูกหนี้ การติดตามทวงถามหนี้ค้างชำระ เป็นต้น) โดย

บริษัท เครดิต ที่ประเทศออสเตรเลียถือเป็นหน่วยจัดการกลางของกลุ่มบริษัท Company ที่ตั้งอยู่ในภาค

พื้นเอเชียแปซิฟิก ประกอบไปด้วยประเทศต่าง ๆ ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ไต้หวัน ญี่ปุ่น

อินเดีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และประเทศไทย

(ข) เงื่อนไขการคิดค่าบริการ บริษัท เครดิต จะประมาณการค่าใช้จ่าย

(ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรของผู้ให้บริการ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโดยตรง ค่าใช้จ่ายในการบริหาร

และค่าใช้จ่ายทั่วไป รวมทั้งจำนวนเงินที่บวกเพิ่ม "Mark Up") ที่จะให้บริการสำหรับรอบระยะเวลา 1

ปี (มกราคม-ธันวาคม) แก่บริษัทในเครือในภาคพื้นแปซิฟิก โดยแบ่งเรียกเก็บเป็น 4 ไตรมาส ๆ ละ

เท่า ๆ กัน โดยจะทำการปรับปรุงค่าใช้จ่ายสำหรับการให้บริการทั้งปีอีกครั้ง ในการชำระค่าบริการกับ

งวดที่ 4 เพื่อให้ใกล้เคียงกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงทั้งปี

ดังนั้น ไม่ว่าจะมีคำขอปรึกษาหรือแนะนำในระยะเวลาใด ๆ หรือไตรมาสใด

หรือไม่ก็ตาม บริษัท เครดิต ก็ยังคงเฉลี่ยค่าใช้จ่ายเพื่อเรียกเก็บค่าบริการค่าใช้จ่ายดังกล่าวของบริษัท

เครดิต ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวประกอบด้วย เงินเดือนค่าจ้างของผู้บริหารระดับสูง เงินเดือนของพนักงาน

แผนการเงิน ซึ่งประกอบด้วยพนักงานที่ดูแลทางด้านระบบ การควบคุมการปฏิบัติการ และด้านอื่น ๆ ที่

เกี่ยวข้องกับการเงิน ค่าเช่าสำนักงานของบริษัท เครดิต และค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน เป็นต้น โดยใช้

ฐานจากปริมาณธุรกรรม (ยอดขาย) ของแต่ละบริษัทในเครือภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกเป็นเกณฑ์จัดสรร

ค่าใช้จ่าย

(ค) ในการจ่ายเงินค่าบริการงานระบบและค่าบริการทั่วไปให้กับ บริษัท เครดิต

นั้น บริษัทฯ ได้หักภาษีตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร ไว้เฉพาะกรณีการจ่ายค่าบริการงานระบบ

เท่านั้น ส่วนค่าบริการทั่วไปมิได้หักไว้ โดยอ้างว่าเงินได้ดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นกำไรทางธุรกิจ ตาม

อนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับประเทศออสเตรเลีย


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 76 ทวิ, มาตรา 70, มาตรา 66

แนววินิจฉัย

1. กรณีการจ่ายค่าบริการด้านงานระบบและค่าบริการทั่วไปให้แก่บริษัท เครดิตประเทศ

ออสเตรเลีย แยกพิจารณาได้ดังนี้

1.1 ข้อเท็จจริงปรากฏว่า บริษัท เครดิต เป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย

ของประเทศออสเตรเลีย มิได้มีลูกจ้าง ผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้ใน

ประเทศไทย กรณีจึงถือว่า บริษัท เครดิต มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยตามมาตรา 76 ทวิ แห่ง

ประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด

1.2 ตามสัญญาการให้บริการทั่วไป (General Services Agreement) ระบุว่าการ

บริการให้คำปรึกษาของบริษัท เครดิต เป็นดังนี้

(ก) ค่าบริการที่จ่ายให้ผู้บริหารระดับสูง

(ข) การวิเคราะห์งบการเงิน

(ค) ด้านการตลาด

(ง) ด้านการบริหารความเสี่ยง

(จ) ด้านระบบการทำงาน

(ฉ) ด้านการดำเนินงาน

(ช) ด้านฝ่ายบุคคล

(ซ) ด้านกฎหมาย

(ฌ) ด้านระบบงาน

เนื่องจากบริษัท เครดิต เป็นผู้ประกอบธุรกิจด้านการให้บริการด้านการเงินกับ

ผู้จำหน่ายรถยนต์และลูกค้าปลีกของผู้จำหน่ายรถยนต์เช่าซื้อ (Leasing) การให้บริการด้านระบบงาน

คอมพิวเตอร์มาเป็นระยะเวลานาน ดังนั้น บริษัท เครดิต จึงเป็นผู้มีประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจ

ดังกล่าว และเมื่อบริษัท เครดิต นำข้อมูลจากประสบการณ์ดังกล่าวมาถ่ายทอดให้บริษัทฯ เงินได้จากการ

ให้บริการให้คำปรึกษาดังกล่าว จึงเข้าลักษณะเป็นเงินได้จากการจัดหาให้ซึ่งความรู้หรือข้อสนเทศทาง

พาณิชยกรรม ตามข้อ 12 วรรค 3 ค) แห่งความตกลงระหว่างประเทศไทยกับประเทศออสเตรเลียเพื่อ

การเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ ดังนั้น เมื่อบริษัทฯ จ่ายเงินได้ดังกล่าว

ออกไป จึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร

และตามความตกลงฯ ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการ

ยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505

2. กรณีการประกอบกิจการของ บริษัท มอเตอร์ฯ ประเทศสหรัฐอเมริกา

2.1 กรณีที่บริษัท มอเตอร์ เป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศ

สหรัฐอเมริกาถือหุ้นในบริษัทฯ กรณียังถือไม่ได้ว่า บริษัท มอเตอร์ ประกอบกิจการในประเทศไทยตาม

มาตรา 66 และมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด

2.2 กรณีบริษัท มอเตอร์ ส่งพนักงานเข้ามาปฏิบัติงานในบริษัทฯ ก็เป็นไปเพื่อกิจการของ

บริษัทฯ มิใช่เพื่อกิจการของบริษัท มอเตอร์ กรณีจึงถือมิได้ว่าบริษัท มอเตอร์ ประกอบ กิจการใน

ประเทศไทยตามมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/ก.611 ลงวันที่ 04 มิถุนายน 2545

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)