Skip to Content

จ่ายเงินได้ไปต่างประเทศ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายเงินได้จากหลักทรัพย์ให้กับบริษัท Custodian ในต่างประเทศ

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายเงินได้จากหลักทรัพย์ให้กับบริษัท Custodian ในต่างประเทศ


ข้อเท็จจริง

บริษัท เอ ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา และมิได้ประกอบกิจการใน

ประเทศไทยเป็นบริษัท Custodian ให้กับกองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาเกษตรกรรม (The

International Fund for Agricultural Development หรือ IFAD) และธนาคารระหว่าง

ประเทศเพื่อการบูรณะและวิวัฒนาการ (The International Bank for Reconstruction and

Development หรือ IBRD)

IFAD และ IBRD มีฐานะเป็นทบวงการชำนัญพิเศษตามพระราชกฤษฎีกา ระบุ

ทบวงการชำนัญพิเศษ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2521 ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้และได้รับการคุ้มครองสำหรับ

การดำเนินงานในประเทศไทยตามอนุสัญญาว่าด้วยเอกสิทธิและความคุ้มกันของทบวงการชำนัญพิเศษแห่ง

สหประชาชาติ ฉบับวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองการ

ดำเนินงานของสหประชาชาติและทบวงการชำนัญพิเศษในประเทศไทย พ.ศ. 2504

บริษัทฯ ได้นำเงินของ IFAD และ IBRD เข้ามาลงทุนซื้อหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์

แห่งประเทศไทย โดยตามบัญชีรายชื่อบุคคลที่เป็นเจ้าของหลักทรัพย์ที่ฝากไว้กับตลาดหลักทรัพย์

แห่งประเทศไทยระบุชื่อบริษัทฯ เป็นเจ้าของหลักทรัพย์ และเงินได้จากหลักทรัพย์ดังกล่าว เช่น

เงินปันผล จะถูกส่งไปเข้าบัญชีของบริษัทฯ ในต่างประเทศ

ขอหารือว่า เมื่อบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์จ่ายเงินได้จากหลักทรัพย์ในกรณีดังกล่าว ไป

เข้าบัญชีของบริษัทฯ ซึ่งเป็น Custodian ของ IFAD และ IBRD จะถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นของ

IFAD และ IBRD และมีผลให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา

70 แห่งประมวลรัษฎากร ใช่หรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 70

แนววินิจฉัย

1. เนื่องจากมาตรา 225 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

พ.ศ.2535 บัญญัติให้สันนิษฐานว่าหลักทรัพย์ที่ฝากไว้กับตลาดหลักทรัพย์ เป็นหลักทรัพย์ของบุคคลผู้มีชื่อ

ปรากฏในบัญชีรายชื่อที่ผู้ฝากหลักทรัพย์จัดทำขึ้น ทั้งนี้ ตามชนิด ประเภท และจำนวนที่ปรากฏในบัญชี

2. ดังนั้น เมื่อตามข้อเท็จจริงข้างต้น ปรากฏว่าบัญชีรายชื่อบุคคลที่เป็นเจ้าของหลักทรัพย์ที่

ผู้ฝากหลักทรัพย์ทำขึ้น ระบุชื่อบริษัทฯ เป็นเจ้าของหลักทรัพย์ จึงต้องสันนิษฐานว่าหลักทรัพย์นั้นเป็นของ

บริษัทฯ มิใช่เป็นของ IFAD และ IBRD ฉะนั้น เมื่อบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ส่งเงินได้จากหลักทรัพย์

เช่น เงินปันผลหรือเงินกำไรจากการขายหลักทรัพย์ออกไปให้บริษัทฯ ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศ

สหรัฐอเมริกา และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์มีหน้าที่ต้องหัก

ภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 10 หรือ 15 ของเงินได้ดังกล่าวตามมาตรา 70 แห่ง

ประมวลรัษฎากร และอาจได้รับการลดหรือยกเว้นภาษีตามหลักเกณฑ์ในอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับ

ประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน

3. อย่างไรก็ดี เนื่องจากบทบัญญัติในมาตรา 225 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์

และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เป็นเพียงข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย และโดยที่ IFAD และ IBRD มี

ฐานะเป็นทบวงการชำนัญพิเศษซึ่งได้รับการยอมรับนับถือโดยประเทศต่าง ๆ ดังนั้น หาก IFAD และ

IBRD สามารถจัดทำหนังสือรับรองความเป็นเจ้าของหลักทรัพย์ โดยระบุชนิด ประเภท และจำนวนที่

บริษัทฯ ถือแทนในกรณีดังกล่าว และส่งมอบหนังสือรับรองนั้นให้กับบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ กรณี

ดังกล่าวถือได้ว่าเงินได้จากหลักทรัพย์นั้นเป็นของ IFAD หรือ IBRD และเงินได้ดังกล่าวจะได้รับยกเว้น

ภาษีเงินได้ในประเทศไทยตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินการของสหประชาชาติ

และทบวงการชำนัญพิเศษในประเทศไทย พ.ศ. 2504 และเมื่อบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์จ่ายเงินได้

จากหลักทรัพย์ตามที่ระบุในหนังสือรับรองไปเข้าบัญชีของบริษัทฯ บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ไม่มีหน้าที่ต้อง

หักภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/03734 ลงวันที่ 26 เมษายน 2542

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)