Skip to Content

จ่ายเงินได้ไปต่างประเทศ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายเงินผลต่างของอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายเงินผลต่างของอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย


ข้อเท็จจริง

บริษัทฯ ได้ขอให้พิจารณาทบทวนหนังสือตอบข้อหารือกรณีที่บริษัทฯ ได้ทำสัญญา

แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและอัตราดอกเบี้ย โดยบริษัทฯ จ่ายในอัตราคงที่และบริษัท ก (ธนาคาร

ผู้รับทำสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย) จ่ายในอัตราลอยตัว ซึ่งกรมสรรพากรได้วินิจฉัยว่า เงินส่วนต่าง

ของอัตราดอกเบี้ยที่บริษัทฯ จ่ายให้บริษัท ก ดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกับ

ดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่น ๆที่ได้จากการให้กู้ยืมเงินตามมาตรา 40(4)(ก) แห่ง

ประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 ตามมาตรา 70 แห่ง

ประมวลรัษฎากร โดยมีข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาดังนี้

1. บริษัทฯ ได้ทำสัญญากู้ร่วม (Syndicated Loan) จากธนาคารในประเทศ ต่อมา

บริษัทฯ เห็นว่าการชำระดอกเบี้ยในอัตราลอยตัวดังกล่าวมีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยที่ไม่คงที่ บริษัทฯ

จึงได้ทำสัญญาประกัน(SWAP) อัตราดอกเบี้ยคงที่กับธนาคารอีกแห่งในต่างประเทศ คือ บริษัท ก ซึ่ง

ไม่ใช่ธนาคารผู้ให้กู้ยืมเงินโดยบริษัทฯ ยังคงมีหน้าที่จ่ายดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้ยืมเงินโดยตรงตาม

อัตราดอกเบี้ยลอยตัวซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาเงินกู้ยืมเงินนั้นทุกประการ ตลอดจนทำการหักภาษีเงินได้นำส่ง

ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร

2. บริษัทฯ มิได้ทำสัญญากู้ยืมเงินใด ๆ กับบริษัท ก เพียงมีข้อตกลงร่วมกันในการกำหนด

จำนวนเงินขึ้นมาเพื่อที่จะใช้เป็นฐานในการทำสัญญาประกันอัตราดอกเบี้ยคงที่เท่านั้น และในสัญญา

ดังกล่าวบริษัทฯ จะนำอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ (fixed rate) ที่กำหนดไว้ที่ 8% ต่อปี ไปแลกเปลี่ยนกับ

อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวในอัตรา LIBOR. จากบริษัท ก โดยตกลงให้กำหนดเวลาการแลกเปลี่ยนให้

ตรงกับกำหนดเวลาที่บริษัทฯ จะต้องจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้

ฉะนั้น ถ้าหากอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ ซึ่งบริษัทฯ ทำประกันอัตราดอกเบี้ยคงที่ไว้กับ

บริษัท ซิตี้คอร์ปฯต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว บริษัท ก ก็จะต้องส่งเงินผลต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ย

แบบคงที่กับอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวที่เกิดขึ้นมาให้บริษัทฯ ในทางตรงข้ามหากอัตราดอกเบี้ยลอยตัวใน

ขณะนั้นต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยคงที่ บริษัทฯ ก็จะต้องส่งเงินผลต่างนั้นไปให้แก่บริษัท ก ดังนั้น ผลแตกต่าง

ดังกล่าวจึงไม่ใช่ดอกเบี้ย แต่เป็นผลแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่กับอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว ซึ่ง

ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้นำส่งตาม

มาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 40(4)(ก), มาตรา 70

แนววินิจฉัย

1. ตามมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ปัจจุบันมีการแก้ไขหลังสุดตาม

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2534 ได้บัญญัติเพิ่มเติมให้รวมถึง

"เงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่ได้จากการให้กู้ยืมหรือ

จากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิดไม่ว่าจะมีหลักประกัน หรือไม่ก็ตาม" ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 7

พฤศจิกายน 2534

ดังนั้น หนังสือของกรมสรรพากร ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2531 เป็นข้อหารือก่อนมี

การแก้ไขมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร จึงวินิจฉัยว่ากรณีดังกล่าวไม่ใช่ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตาม

มาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนกรณีหนังสือของกรมสรรพากร ลงวันที่ 20 มีนาคม 2539

เป็นข้อหารือหลังจากมีการแก้ไขมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร จึงวินิจฉัยว่าเงินได้ดังกล่าว

เป็นเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกับดอกเบี้ย ตามมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร

2. กรณีตามข้อเท็จจริงข้างต้น บริษัทฯ ได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและ

อัตราดอกเบี้ยโดยบริษัทฯ จ่ายในอัตราคงที่ และบริษัท ก จ่ายอัตราลอยตัว เงินส่วนต่างของอัตรา

ดอกเบี้ยที่บริษัทฯจ่ายให้กับบริษัท ก ดังกล่าว จึงเข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกับดอกเบี้ย

ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่น ๆที่ได้จากการให้กู้ยืมตามมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร

บริษัทฯ จึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้นำส่งในอัตราร้อยละ 15 ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 8011/11192 ลงวันที่ 02 พฤศจิกายน 2542

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)