Skip to Content

จ่ายเงินได้ไปต่างประเทศ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายค่าบริการโอนเงินต่างประเทศให้แก่นิติบุคคลต่างประเทศ

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายค่าบริการโอนเงินต่างประเทศให้แก่นิติบุคคลต่างประเทศ


ข้อเท็จจริง

ธนาคารฯ ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ(Memorandum of Understanding MOU) กับCustom Houseซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศแคนาดาไม่มีสำนักงานหรือสถานธุรกิจประจำในประเทศไทยCustom House ได้ส่งพนักงานเข้ามาทำงานโดยใช้สถานที่ร่วมกับธนาคารฯในประเทศไทยตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในMOU ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2549 ถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2549 เพื่อจัดทำคำแนะนำ(Recommendations)กรณีความเป็นไปได้เกี่ยวกับธุรกิจและอุตสาหกรรมธนบัตรในประเทศไทยและการโอนเงินต่างประเทศในประเทศไทยทางอินเตอร์เน็ตผ่านระบบโอนเงินVista ของ Custom House หลังจากนั้น ธนาคารฯต้องจ่ายค่าบริการการโอนเงินต่างประเทศให้แก่ Custom House ตามภาคผนวก B แนบท้ายMOU ซึ่งประกอบด้วย

1.ค่าธรรมเนียมบริการโอนเงินต่างประเทศขาออกเป็นเงินบาท

2.ส่วนแบ่งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ระหว่างธนาคารฯ กับ CustomHouseที่ได้จากการขายเงินตราต่างประเทศให้แก่ลูกค้าในการให้บริการโอนเงินต่างประเทศขาออกและจากการรับซื้อเงินตราต่างประเทศจากลูกค้าในการให้บริการโอนเงินต่างประเทศขาเข้าและ

3. ดอกเบี้ยผิดนัดที่ธนาคารฯต้องจ่ายให้แก่ Custom House กรณีไม่นำเงินฝากเข้าบัญชีCustom House ภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกัน ธนาคารฯ

จึงขอทราบว่า

1.การจ่ายค่าบริการการโอนเงินต่างประเทศให้แก่ Custom House ในแต่ละรายการข้างต้นธนาคารฯในฐานะผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่ อย่างไร

2. CustomHouse มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีสำหรับเงินได้ในแต่ละรายการข้างต้นในประเทศไทยหรือไม่อย่างไร


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 65 มาตรา 40(8) มาตรา 70 มาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 11แห่งอนุสัญญาฯไทย-แคนาดา

แนววินิจฉัย

1. Custom Houseเป็นบริษัทจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศแคนาดาไม่มีสำนักงานหรือสถานธุรกิจประจำในประเทศไทยCustom Houseได้ส่งพนักงานเข้ามาทำงานโดยใช้สถานที่ร่วมกับธนาคารออมสินในประเทศไทยตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในMOU ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2549 ถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2549เพื่อจัดทำคำแนะนำกรณีความเป็นไปได้เกี่ยวกับธุรกิจและอุตสาหกรรมธนบัตรในประเทศไทยและการโอนเงินต่างประเทศในประเทศไทยทางอินเตอร์เน็ตผ่านระบบโอนเงินVista ของ Custom House หากปรากฏข้อเท็จจริงอย่างชัดแจ้งว่า ภายใต้ MOUมีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่เป็นการผูกพันให้ธนาคารฯต้องตกลงใช้บริการทางอินเตอร์เน็ตผ่านระบบโอนเงิน Vista ของCustom Houseในภายหลังทำให้มีเงินได้หรือผลกำไรเกิดขึ้นในประเทศไทยเข้าลักษณะการมีลูกจ้างในการประกอบกิจการในประเทศไทยซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย ตามมาตรา 76ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรCustom Houseจึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีจากกำไรสุทธิตามมาตรา65 แห่งประมวลรัษฎากรจากเงินได้หรือผลกำไรที่ได้รับดังกล่าว

2.หากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอย่างชัดแจ้งว่า ภายใต้ MOU มีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่เป็นการผูกพันให้ธนาคารฯต้องตกลงใช้บริการทางอินเตอร์เน็ตผ่านระบบโอนเงิน Vista ของ Custom Houseในภายหลังย่อมถือได้ว่า Custom House เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยดังนั้น เมื่อธนาคารฯ จ่ายค่าบริการการโอนเงินต่างประเทศให้แก่ Custom House ซึ่งประกอบด้วย

(1) ค่าธรรมเนียมบริการโอนเงินต่างประเทศขาออกเป็นเงินบาท

(2) ส่วนแบ่งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ระหว่างธนาคารฯ กับ CustomHouseที่ได้จากการขายเงินตราต่างประเทศให้แก่ลูกค้าในการให้บริการโอนเงินต่างประเทศขาออกและจากการรับซื้อเงินตราต่างประเทศจากลูกค้าในการให้บริการโอนเงินต่างประเทศขาเข้าและ

(3)ดอกเบี้ยผิดนัดที่ธนาคารฯ ต้องจ่ายให้แก่ Custom House กรณีไม่นำเงินฝากเข้าบัญชี Custom House ภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกัน

ธนาคารฯผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามรายการ (1) และ (2)ซึ่งเข้าลักษณะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40(8) แห่งประมวลรัษฎากรจากประเทศไทยให้แก่ Custom Houseที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยจึงไม่มีหน้าที่หักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายดังกล่าวตามมาตรา70 แห่งประมวลรัษฎากร

อย่างไรก็ตาม หากธนาคารฯจ่ายดอกเบี้ยผิดนัดให้แก่ Custom Houseกรณีไม่นำเงินฝากเข้าบัญชี Custom Houseภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกันตามรายการ (3)ดอกเบี้ยผิดนัดดังกล่าวเข้าลักษณะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ก)แห่งประมวลรัษฎากร ธนาคารฯผู้จ่ายต้องมีหน้าที่หักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายดังกล่าวตามมาตรา 70แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบข้อ 11แห่งอนุสัญญาระหว่างราชอาณาจักรไทยกับประเทศแคนาดาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/9435 ลงวันที่ 18 กันยายน 2550

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)