จ่ายเงินได้ไปต่างประเทศ ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายค่านายหน้าให้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายค่านายหน้าให้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลข้อเท็จจริงบริษัทฯ จ่ายค่านายหน้าในการขายสินค้าให้กับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการ ในประเทศไทย และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย โดยบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลดังกล่าวมีถิ่นที่อยู่ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศมาเลเซีย และฮ่องกง บริษัทฯ จะมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย หรือไม่ อย่างไร กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 41, มาตรา 50 (1), มาตรา 70, มาตรา 76 ทวิ, พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505แนววินิจฉัย1. กรณีที่บริษัทฯ จ่ายค่านายหน้าให้กับบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งมีถิ่นที่อยู่ ในประเทศ สหรัฐอเมริกา และประเทศมาเลเซีย เนื่องจากค่านายหน้าเข้าลักษณะเป็นกำไรจากธุรกิจ ดังนั้น กรณีที่บุคคลธรรมดาหรือ นิติบุคคลซึ่งได้รับค่านายหน้า มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาหรือในประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีอนุสัญญา เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย จึงอาจพิจารณาภาระภาษีได้ดังนี้ (ก) กรณีบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นนายหน้าดังกล่าว มิได้ประกอบกิจการโดย ผ่านสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นนายหน้านั้น จะได้รับ ยกเว้นภาษีเงินได้ในประเทศไทย ตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศ สหรัฐอเมริกาหรือประเทศมาเลเซียเพื่อเว้นการเก็บภาษีซ้อนแล้วแต่กรณี และตามมาตรา 3 แห่ง พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 ฉะนั้น เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่านายหน้าให้กับบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลซึ่งเป็นนายหน้าดังกล่าว บริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้แต่อย่างใด อย่างไรก็ดี สำหรับกรณีบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลมีถิ่นที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลดังกล่าวจะต้องไม่ถูกจำกัดสิทธิประโยชน์ในการใช้อนุสัญญาฯ ตามข้อ 18 แห่ง อนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนด้วย (ข) กรณีบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นนายหน้าดังกล่าว ประกอบกิจการโดยผ่าน สถานประกอบการถาวรในประเทศไทย แยกพิจารณาได้ดังนี้ - บุคคลธรรมดาดังกล่าว มีหน้าที่ต้องนำค่านายหน้าที่ได้รับมารวมคำนวณเพื่อเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย ตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร และโดยที่ ค่านายหน้าดังกล่าวเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่านายหน้า ให้แก่บุคคลธรรมดาดังกล่าวบริษัทฯ มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (1) แห่ง ประมวลรัษฎากร - นิติบุคคลดังกล่าว มีหน้าที่ต้องนำค่านายหน้ามารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ตามมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และเมื่อบริษัทฯ จ่ายค่า นายหน้าให้กับบริษัทดังกล่าว บริษัทฯ ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด 2. กรณีบริษัทฯ จ่ายค่านายหน้าให้กับบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในฮ่องกง (ก) กรณีที่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นนายหน้าดังกล่าว มิได้ประกอบกิจการใน ประเทศไทยเนื่องจากค่านายหน้าเข้าลักษณะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น เมื่อบริษัทฯจ่ายค่านายหน้าให้กับบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 ตามมาตรา 50 (1) วรรคสี่ และมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร (ข) กรณีที่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นนายหน้าดังกล่าว ประกอบกิจการใน ประเทศไทยกรณีดังกล่าวจะมีภาระภาษีเช่นเดียวกับ 1. (ข) ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/15588 ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2541 |