Skip to Content

จ่ายเงินได้ไปต่างประเทศ ภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร


ข้อเท็จจริง

บริษัทฯ มีบัญชีเงินฝากประเภทเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารในต่างประเทศ ในแต่ละเดือน

ธนาคารในต่างประเทศจะส่งใบแจ้งยอดบัญชีฯ มายังบริษัทฯ ว่าได้มีการคิดดอกเบี้ยสำหรับเงิน

เบิกเกินบัญชีเท่าใดและบวกดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นเงินเบิกเกินบัญชีเพิ่มขึ้นทันที โดยที่ทางบริษัทฯ มิได้ส่ง

เงินค่าดอกเบี้ยไปยังธนาคารฯ แต่ประการใด ในการนี้ ทางบริษัทฯ ได้บันทึกบัญชีดังนี้

1. บันทึกดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดขึ้นเป็นค่าใช้จ่ายประจำงวด ตามงวดของดอกเบี้ย ที่เกิดขึ้น

2. บันทึกตัดดอกเบี้ยค้างจ่ายไปเป็นหนี้สินที่เพิ่มขึ้น ตามวันที่ปรากฏในใบ แจ้งยอดบัญชีฯ

บริษัทฯ จึงหารือว่า

1. บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษีนำส่งในวันที่ปรากฏในใบแจ้งยอดเงินฝากของธนาคารฯ

หรือไม่ อย่างไร

2. หากบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษีนำส่งตาม 1. ต่อมาบริษัทฯ ได้ส่งเงินไปยังธนาคารฯ

เพื่อลดยอดเงินเบิกเกินบัญชี โดยไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นการลดยอดดอกเบี้ยหรือ ลดยอดเงิน

เบิกเกินบัญชี บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษีนำส่งอีกหรือไม่ อย่างไร

3. หากบริษัทฯ ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีนำส่งตาม 1. ต่อมาบริษัทฯ ได้ส่งเงินไปยังธนาคารฯ

เพื่อลดยอดเงินเบิกเกินบัญชีโดยไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นการลดยอดดอกเบี้ยหรือ ลดยอดเงิน

เบิกเกินบัญชี บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษีนำส่งหรือไม่ อย่างไร


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 70

แนววินิจฉัย

1. กรณีตาม 1. การที่ธนาคารในต่างประเทศแจ้งให้บริษัทฯ ทราบว่าได้คิด ดอกเบี้ยสำหรับ

เงินเบิกเกินบัญชีเท่าใด โดยทางธนาคารฯ บวกดอกเบี้ยดังกล่าว เป็นเงินเบิกเกินบัญชีเพิ่มขึ้นทันที ถือ

ได้ว่าบริษัทฯ ได้มีการจ่ายดอกเบี้ยตามมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ธนาคารใน

ต่างประเทศแล้ว โดยเป็นการจ่ายดอกเบี้ยผ่านทางระบบบัญชีธนาคาร ในรูปของต้นเงินเบิกเกินบัญชี

เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่าดอกเบี้ยให้ธนาคารในต่างประเทศ ซึ่งเป็น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตาม

กฎหมายของต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย บริษัทฯ ผู้จ่ายมีหน้าที่หักภาษีจากเงินได้

ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 และนำส่งด้วยแบบ ภ.ง.ด.54 ภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่าย

ค่าดอกเบี้ย ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่จะมีอนุสัญญาภาษีซ้อนกำหนดเป็นอย่างอื่น และ

บริษัทฯ นำค่าดอกเบี้ยที่จ่าย ดังกล่าวมาคำนวณเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นได้ตามมาตรา 65

แห่งประมวลรัษฎากร

2. กรณีตาม 2. เมื่อบริษัทฯ ส่งเงินเข้าบัญชีเงินฝากของตนไปยังธนาคารใน ต่างประเทศ

เพื่อลดยอดเงินเบิกเกินบัญชี ถือว่าเป็นการชำระหนี้เงินกู้ยืม บริษัทฯ ไม่มีหน้าที่ ต้องหักภาษีแต่อย่างใด




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/3178 ลงวันที่ 19 เมษายน 2545

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)