Skip to Content

จำหน่ายหนี้สูญ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักรายจ่ายเงินสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและการจำหน่ายหนี้สูญ

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักรายจ่ายเงินสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและการจำหน่ายหนี้สูญ


ข้อเท็จจริง

ธนาคารฯ ขอทราบเกี่ยวกับวิธีการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชี 1

มกราคม - 31 ธันวาคม 2535 ซึ่งธนาคารฯ ได้บันทึกบัญชีเงินสำรองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

ในงบดุลเพิ่มขึ้นจากรอบระยะเวลาบัญชีก่อนจำนวน 100 ล้านบาท และในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี

ธนาคารฯ ยังได้บันทึกบัญชีเป็นรายจ่ายสำหรับลูกหนี้ที่ตัดจำหน่ายหนี้สูญที่เข้าหลักเกณฑ์ในกฎกระทรวง

ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) เพิ่มอีกจำนวน 25 ล้านบาท รวม 2 บัญชี เป็นเงิน 125 ล้านบาท โดยใน

การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ธนาคารฯ ได้ปฏิบัติดังนี้

1. กรณีบัญชีเงินสำรองฯ ธนาคารฯ คำนวณสำรองส่วนที่ตั้งเพิ่มขึ้นที่จะนำมาถือเป็น

รายจ่ายตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 65 ตรี (1) (ค) แห่งประมวลรัษฎากร ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดย

พระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2540 เป็นจำนวน 74 ล้านบาท

ดังนั้นธนาคารฯ จึงบวกกลับเงินสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเป็นรายได้เพื่อคำนวณภาษีเท่ากับ 26 ล้าน

บาท (100-74)

2. กรณีบัญชีหนี้สูญสำหรับลูกหนี้ที่ได้ตัดจำหน่ายเป็นหนี้สูญจำนวน 25 ล้านบาท นั้น เข้า

หลักเกณฑ์กฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ธนาคารฯ จึงมิได้บวกกลับเป็นรายได้ในการคำนวณ

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

เนื่องจากธนาคารฯ ได้พิจารณาว่า มาตรา 65 ตรี (1) (ค) เป็นเรื่องของรายจ่ายที่

เกี่ยวข้องกับเงินสำรองที่ได้รับยกเว้นให้ถือเป็นรายจ่าย ส่วนกฎกระทรวงฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)

เป็นเรื่องหลักเกณฑ์การตัดจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ที่ถือเป็นรายจ่ายได้ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์

ตามมาตรา 65 ตรี (1) (ค) ธนาคารฯ จึงขอทราบว่า วิธีปฏิบัติดังกล่าวข้างต้นถูกต้องหรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 65 ทวิ (9), มาตรา 65 ตรี (1), กฎกระทรวงฯ ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534ฯ)

แนววินิจฉัย

กรณีตามข้อเท็จจริงข้างต้น ธนาคารฯ มีสิทธินำเงินสำรองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญ ตาม

หลักเกณฑ์ วิธีการ ในมาตรา 65 ตรี (1) (ค) แห่งประมวลรัษฎากร ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดย

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2540 จำนวน 74 ล้านบาท และ

การจำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้ ตามมาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับ

กฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญ

จากบัญชีลูกหนี้ อีกจำนวน 25 ล้านบาท มาถือเป็นรายจ่ายได้ทั้ง 2 กรณี รวมเป็นจำนวนเงิน 99 ล้านบาท




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/12269 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2541

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)