จำหน่ายหนี้สูญ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจำหน่ายหนี้สูญ
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจำหน่ายหนี้สูญข้อเท็จจริง1. บริษัท ส. ประกอบกิจการให้บริการรับ-ส่งข้อมูล ภาพ และเสียงผ่านดาวเทียม ให้บริษัท บ. รับสิทธิในการใช้ช่องสัญญาณในการสื่อสารข้อมูลดิจิตอลผ่านดาวเทียมและเช่าอุปกรณ์ เมื่อถึงกำหนด ชำระค่าบริการ บริษัท บ. ไม่ชำระเงิน บริษัท ส. จึงดำเนินการฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ภายใน กำหนดอายุความให้ลูกหนี้ชำระค่าสิทธิเป็นเงิน 234,000 บาท ค่าเช่าอุปกรณ์ เป็นเงิน 315,900 บาท และค่าใบอนุญาตตั้งใช้อุปกรณ์เป็นเงิน 3,000 บาท รวมเป็นหนี้ทั้งสิ้น 552,900 บาท ซึ่งศาลได้มี คำพิพากษาตามฟ้อง ตามคดีเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2543 ต่อมา บริษัทฯ ลูกหนี้ ได้ขอศาลให้ฟื้นฟูกิจการ และศาลได้มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการบริษัทฯ ลูกหนี้ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2543 โดยบริษัทฯ เจ้าหนี้ ได้ ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2543 บริษัทฯ เจ้าหนี้ หารือว่า หนี้จำนวน ดังกล่าว บริษัทฯ เจ้าหนี้ ไม่ได้ปลดหนี้หรือประนอมหนี้ให้บริษัทฯ ลูกหนี้ดังนั้น บริษัทฯ เจ้าหนี้จะจำหน่าย หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ตามมาตรา 65 ทวิ(9) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับ กฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญ จากบัญชีลูกหนี้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 216 (พ.ศ. 2541) ออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ได้หรือไม่ 2. ได้สอบถามข้อเท็จจริงจากบริษัทฯ ได้รับแจ้งว่า ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งให้ฟื้นฟู กิจการของบริษัท บ. และตั้งบริษัท ย. เป็นผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ ของลูกหนี้ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2543 ต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนในวันที่ 18 มกราคม 2544 โดย บริษัท ส. เจ้าหนี้รายที่ 176 ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว จะได้รับชำระหนี้ในปีที่ 4 คือ ปี พ.ศ. 2547 แต่ไม่ทราบว่าจะได้รับชำระหนี้จำนวนเท่าใด กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 6 ตรี ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)ฯแนววินิจฉัยเมื่อบริษัทฯ เจ้าหนี้ ได้ทวงถามให้บริษัทฯ ลูกหนี้ ชำระหนี้ที่ค้างชำระและได้ฟ้องคดีต่อศาล ภายในกำหนดอายุความโดยศาลได้มีคำพิพากษาให้บริษัทฯ ลูกหนี้ ชำระเงินตามฟ้อง ซึ่งบริษัทฯ เจ้าหนี้ ได้ส่งคำบังคับของศาลให้บริษัทฯ ลูกหนี้ทราบแล้ว แต่บริษัทฯ ลูกหนี้ได้ขอศาลฟื้นฟูกิจการและศาลได้มี คำสั่งเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ ลูกหนี้ โดยบริษัทฯ เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อศาล ล้มละลายกลางและบริษัทฯ เจ้าหนี้ จะได้รับชำระหนี้ในปีที่ 4 คือ ปี พ.ศ. 2547 โดยยังไม่ทราบว่าจะ ได้รับชำระหนี้จำนวนเท่าใด กรณีดังกล่าว บริษัทฯ เจ้าหนี้ จึงมีสิทธิจำหน่ายเป็นหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ได้ ในปี 2547 ซึ่งเป็นปีที่ได้รับชำระหนี้ตามจำนวนหนี้ที่ไม่ได้รับชำระ ทั้งนี้ ตามข้อ 6 ตรี ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)ฯ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 216 (พ.ศ. 2541)ฯ ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/7440 ลงวันที่ 01 สิงหาคม 2546 |