จำหน่ายหนี้สูญ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจำหน่ายหนี้สูญ
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจำหน่ายหนี้สูญข้อเท็จจริงบริษัท ก. และบริษัท ข. ประกอบการรับจ้างรักษาความปลอดภัย และรับจ้างทำความสะอาด ให้บริษัท ค. เป็นจำนวนเงิน 2,798,007 บาท พร้อมดอกเบี้ย 2,119,365 บาท ในวันที่ 26 มิถุนายน 2541 บริษัทฯ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทั้งสองรายได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไป ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ ปรากฏว่าเมื่อไปที่สำนักงานแห่งใหญ่ของลูกหนี้แล้วไม่พบตัวลูกหนี้ และทรัพย์สินของ ลูกหนี้แต่อย่างใด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงได้งดยึดลงนัด 2 เดือน รอโจทก์ (เจ้าหนี้) แถลง เมื่อครบ กำหนด 2 เดือน ผู้รับมอบอำนาจของเจ้าหนี้ทั้งสองรายก็มิได้แถลง และมิได้ดำเนินการจำหน่ายหนี้สูญ จากบัญชีลูกหนี้แต่อย่างใด เวลาล่วงเลยมาจนกระทั่งเจ้าหนี้ได้ทราบว่าลูกหนี้ได้ถูกบุคคลอื่นฟ้องคดี ล้มละลาย และมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2542 (ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 9 พฤศจิกายน 2542) แต่ขณะที่เจ้าหนี้ทั้งสองรายข้างต้นทราบนั้นได้พ้นกำหนดระยะเวลายื่นคำร้อง ขอรับชำระหนี้คดีล้มละลายไปแล้ว ต่อมาวันที่ 13 กรกฎาคม 2543 เจ้าหนี้ทั้งสองรายได้แถลงต่อ เจ้าพนักงานบังคับคดีว่าลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดที่จะบังคับชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้อีกและขอถอนบังคับคดี และ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2543 เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รายงานต่อศาล และถอนการบังคับคดี ซึ่ง นางสาวจินตนาฯ เห็นว่า หนี้ของลูกหนี้มีจำนวนเกิน 500,000 บาท โดยเจ้าหนี้ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ ในคดีแพ่ง และได้มีคำบังคับคดีหรือคำสั่งศาลแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชำระหนี้ได้ เข้าลักษณะ ตามข้อ 4(2) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)ฯ ดังนั้น เจ้าหนี้จึงสามารถนำหนี้ของลูกหนี้ รายนี้จำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2541 ซึ่งเป็นวันที่ได้มีการนำ เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์สินของลูกหนี้แล้วไม่พบทรัพย์สินของลูกหนี้ ทั้งนี้ แม้ว่าเจ้าหนี้มิได้ จำหน่ายหนี้สูญในรอบระยะเวลาบัญชี และเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ของลูกหนี้ซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาดภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดก็ตาม เจ้าหนี้ก็ยังคงมีสิทธิจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้รายนี้ ได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2543 กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 65 ทวิ (9), กฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)ฯแนววินิจฉัยบริษัทฯ ทั้ง 2 รายดังกล่าวซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้ง เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้แล้ว แต่ไม่พบทรัพย์สินของลูกหนี้ ต่อมาใน วันที่ 13 กรกฎาคม 2543 บริษัทฯ ได้แถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่า ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดที่จะบังคับ ชำระหนี้ให้แก่บริษัทฯ ได้ และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รายงานศาล และถอนการบังคับคดีถือว่าบริษัทฯ ได้ดำเนินการบังคับคดีถึงที่สุดแล้ว บริษัทฯ ย่อมจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ และถือเป็นรายจ่ายใน รอบระยะเวลาบัญชีปี 2543 ได้ ตามข้อ 4(2) และข้อ 7 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)ฯ ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/6769 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2544 |