Skip to Content

จำหน่ายหนี้สูญ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจำหน่ายหนี้สูญ

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจำหน่ายหนี้สูญ


ข้อเท็จจริง

บริษัทฯ หารือเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจำหน่าย

หนี้สูญ ดังนี้

1. ตามข้อ 4(2) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)

ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญ จากบัญชีลูกหนี้ กำหนดว่า "การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ในกรณีหนี้

ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนเกิน 500,000 บาทขึ้นไป บริษัทฯ ต้องดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งหรือได้ยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่

ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่ง และในกรณีนั้นๆ ได้มีคำบังคับหรือคำสั่งของศาลแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดๆ จะชำระหนี้ได้"

นั้น มีความหมายเพียงว่า บริษัทฯ ต้องได้ดำเนินการ ฟ้องคดีแพ่งจนศาลมีคำพิพากษา (ออกหมายเลขคดีแดง) แล้ว จึงจะตัดหนี้สูญได้ หรือ

ว่าบริษัทฯ จะต้องดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์ จนถึงที่สุดแล้ว จึงจะตัดหนี้สูญได้ และหากต้องดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์แล้ว จะต้อง

ใช้เอกสารใดเพื่อเป็นหลักฐานในการยืนยัน หรืออ้างอิงเพื่อตัดหนี้สูญ

2. ตามข้อ 5(2) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)ฯ

กำหนดว่า "การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ในกรณีหนี้ของ ลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 500,000 บาท บริษัทฯ ต้องได้ดำเนินการ

ฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งและศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้องนั้นแล้ว หรือได้ยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่งและศาล

ได้มีคำสั่งรับคำขอนั้นแล้ว" นั้น กรณีบริษัทฯ ยื่นฟ้อง ต่อศาล และศาลได้มีคำสั่งรับฟ้อง (ออกหมายเลขคดีดำ) ในปี 2550 แล้ว ต่อมา ศาล

ได้มีคำพิพากษา (ออกหมายเลขคดีแดง) ในปี 2551 บริษัทฯ จะจำหน่ายหนี้สูญในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2551 ที่ศาลได้มีคำพิพากษาได้

หรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 65 ตรี (9) แห่งประมวลรัษฎากร

แนววินิจฉัย

1. กรณีการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของบริษัทฯ ตาม

มาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 4(2) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)ฯ นั้น ต้องปรากฏว่า บริษัทฯ ได้

ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งและได้มีคำบังคับหรือ คำสั่งของศาลแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดๆ จะชำระหนี้ได้ ซึ่งต้องมีหลักฐาน

พิสูจน์ว่า ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดๆ จะชำระหนี้ได้ โดยบริษัทฯ มีสิทธิใช้หลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(1) รายงานการ

ติดตามหาทรัพย์สินลูกหนี้ของทนายความเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีและมีหลักฐานการรับ ทราบของเจ้าพนักงานบังคับคดี

(2) สำเนารายงานการ

ยึดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดี ที่แสดงว่าลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดๆ ที่จะชำระหนี้ได้ โดย เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องรับรองความถูกต้อง

ของรายงานด้วย

2. กรณีบริษัทฯ เป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้ในมูลหนี้ไม่เกิน

500,000 บาท โดยบริษัทฯ ได้ฟ้องคดีลูกหนี้รายดังกล่าวเป็นคดีแพ่ง และศาลได้มีคำสั่งรับฟ้องแล้ว บริษัทฯ จะต้องจำหน่ายหนี้สูญจาก

บัญชีลูกหนี้และถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่ศาลมีคำสั่ง รับฟ้องตามมาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 5(2)

และข้อ 7 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)ฯ บริษัทฯ จะจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้และถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลา

บัญชีอื่นไม่ได้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้รายจ่าย ที่ควรจะลงจ่ายเป็นรายจ่ายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีใดต้องลงเป็นรายจ่ายในรอบระยะ

เวลาบัญชีนั้น ห้ามลงเป็นรายจ่ายในรอบระยะ เวลาบัญชีอื่น ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ตรี (9) แห่งประมวลรัษฎากร




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/2200 ลงวันที่ 22 มีนาคม 2553

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)