Skip to Content

จำหน่ายหนี้สูญ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจำหน่ายหนี้สูญ

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจำหน่ายหนี้สูญ


ข้อเท็จจริง

โรงงานน้ำตาลซึ่งเป็นลูกค้าของบริษัทฯ ได้ให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเข้าจัดการหนี้แทนเกษตรกร โดยกองทุน ฟื้นฟูฯ ได้ชำระหนี้แทนในนามเกษตรกรและมีข้อตกลงให้โรงงานน้ำตาลต้องปลดหนี้ที่เหลือให้แก่เกษตรกร ซึ่งคณะกรรมการกองทุน ฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรได้กำหนดให้โรงงานน้ำตาลเป็นสถาบันการเงินตามมาตรา 37/1 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนา เกษตรกร พ.ศ. 2542 โรงงานน้ำตาลสามารถนำจำนวนหนี้ที่ปลดให้แก่เกษตรกรตามบัญชีลูกหนี้ไปหักเป็นหนี้สูญในการคำนวณ กำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิได้


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากร

แนววินิจฉัย

กรณีกองทุนฟื้นฟูฯ เข้าจัดการหนี้แทนเกษตรกรโดยชำระหนี้แก่โรงงานน้ำตาลแทนเกษตรกร และโรงงานน้ำตาลได้ปลดหนี้ ที่เหลือให้แก่เกษตรกร โรงงานน้ำตาลเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 หากการดำเนินการปลดหนี้ให้แก่เกษตรกรดังกล่าว เข้าลักษณะตามข้อ 6 อัฏฐ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)ฯ ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2534 โรงงานน้ำตาลเจ้าหนี้จึงมีสิทธินำจำนวนหนี้ที่ปลดให้แก่เกษตรกรตามบัญชีลูกหนี้ไปหักเป็นรายจ่ายในการ คำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิประเภทหนี้สูญได้ตามมาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวงฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)ฯ ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2534




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/9674 ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2552

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)