จำหน่ายหนี้สูญ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจำหน่ายหนี้สูญ
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจำหน่ายหนี้สูญข้อเท็จจริงบริษัทฯ เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประกอบกิจการให้บริการเช่ารถ มีรายได้จากการให้เช่ารถยนต์ กรณีบริษัทฯ มีลูกหนี้การค้าจากการประกอบกิจการ บริษัทฯ ได้บันทึก บัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ โดยกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในอัตราร้อยละ 20 และ 50 ตามระยะเวลาของมูลหนี้ค้างชำระ และหากเป็นหนี้ที่ได้ดำเนินการฟ้องร้อง จะตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัย จะสูญในอัตราร้อยละ 100 ของมูลหนี้ค้างชำระ ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2546 และปี 2548 บริษัทฯ ได้บันทึกบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 1,016,488.48 บาท และจำนวน 4,286,753.20 บาท ตาม ลำดับ รวมค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 5,303,241.68 บาท ในการบันทึกบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะ สูญทั้ง 2 รอบระยะเวลาบัญชี บริษัทฯ มิได้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคล แต่ประการใด ต่อมาในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2550 บริษัทฯ ได้จำหน่ายหนี้สูญจำนวน 5,303,241.68 บาท ออกจากบัญชีลูกหนี้ เนื่องจากบริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2534 ครบถ้วนแล้ว บริษัทฯ จึงขอทราบว่า หนี้สูญจำนวนดังกล่าว บริษัทฯ มีสิทธิ นำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 2550 ได้หรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากรแนววินิจฉัยกรณีการจำหน่ายหนี้สูญในทางภาษีอากรนั้น จะต้องเป็นหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้รับรู้เป็นรายได้ และนำไปเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วเท่านั้น และเมื่อได้มีการจำหน่ายหนี้สูญตาม หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)ฯ ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2534 แล้ว บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นสามารถจำหน่ายเป็นหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ และ ถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ทวิ(9) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับ ข้อ 7 แห่งกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/1826 ลงวันที่ 23 เมษายน 2551 |