Skip to Content

จำหน่ายหนี้สูญ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของลูกหนี้ซึ่งประกอบกิจการในต่างประเทศ

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของลูกหนี้ซึ่งประกอบกิจการในต่างประเทศ


ข้อเท็จจริง

บริษัท ซ. ประกอบธุรกิจหลายประเภทและมีลูกค้าคือ บริษัท A. ซึ่งมีสถานประกอบการอยู่ใน

ประเทศมาเลเซียได้สั่งซื้อสินค้า โดยบริษัท ซ. ได้ส่งมอบสินค้าและติดตั้งเรียบร้อยแล้ว แต่บริษัท A.

ยังคงค้างชำระค่าสินค้า ประมาณ 4,500,000 บาท บริษัท ซ. ได้มีหนังสือทวงถามหลายครั้งแต่ไม่ได้

รับการติดต่อเพื่อชำระหนี้ ต่อมาบริษัท A. ได้มีหนังสือเรียกประชุมเจ้าหนี้ทั้งหมดและแจ้งว่าจะปิดกิจการ

บริษัท ซ. ในฐานะเจ้าหนี้รายหนึ่งจะได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินเป็นจำนวนเงิน

ประมาณ 300,000 บาท แต่จนกระทั่งบัดนี้ บริษัท A. ซึ่งปิดกิจการแล้วยังไม่ได้ดำเนินการ

ขายทอดตลาดทรัพย์สินเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่บริษัท ซ. แต่อย่างใด จึงได้หารือดังนี้

1. กรณีบริษัท A. ลูกหนี้ได้เลิกกิจการแล้ว บริษัท ซ. ในฐานะเจ้าหนี้จะสามารถนำหนี้ค่า

สินค้ามาจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ โดยถือเป็นกรณีลูกหนี้เลิกกิจการ ตามข้อ 4(1)(ข) ของ

กฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ.2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญ

จากบัญชีลูกหนี้ ได้หรือไม่ อย่างไร

2. หากบริษัท ซ. ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่บริษัท A. ถูกเจ้าหนี้รายอื่นยื่นฟ้อง

คดีล้มละลายในศาลประเทศมาเลเซีย หรือบริษัท A. ได้ถูกศาลประเทศมาเลเซียพิพากษาให้เป็นบุคคล

ล้มละลาย และได้มีการแบ่งทรัพย์สินของบริษัท A. ลูกหนี้ในครั้งแรกแล้ว บริษัท ซ. จะสามารถนำ

ขั้นตอนการขอรับชำระหนี้หรือคำพิพากษาของศาลในประเทศมาเลเซียดังกล่าวมาจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชี

ลูกหนี้ในประเทศไทย ตามข้อ 4(3) ของกฎกระทรวงฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)ฯ ได้หรือไม่ อย่างไร


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 65 ทวิ (9), กฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)ฯ

แนววินิจฉัย

1. การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ในกรณีที่หนี้มีจำนวนเกิน 500,000 บาทขึ้นไป ทั้งนี้

ไม่ว่าจะเป็นหนี้ของลูกหนี้ในประเทศหรือต่างประเทศจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่

กำหนดในข้อ 4 ของกฎกระทรวงฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)ฯ

2. กรณีตามข้อ 1. และข้อ 2. บริษัท A. เป็นหนี้บริษัท ซ. จำนวน 4,500,000 บาท

หากบริษัท ซ. ได้ติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณี โดยมีหลักฐาน การติดตามทวงถามอย่าง

ชัดแจ้งและไม่ได้รับชำระหนี้ โดยปรากฏว่าบริษัท A. ลูกหนี้เลิกกิจการ และมีหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นมี

บุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้อยู่ในลำดับก่อนเป็นจำนวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือ

ปรากฏว่าบริษัท ซ. ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลายหรือได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูก

เจ้าหนี้รายอื่นยื่นฟ้องในคดีล้มละลาย และในกรณีนั้น ๆ ได้มีการประนอมหนี้กับลูกหนี้ โดยศาลมีคำสั่ง

เห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้นั้น หรือลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายและได้มีการแบ่ง

ทรัพย์สินของลูกหนี้ครั้งแรกแล้ว บริษัท ซ. จึงจะสามารถจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ได้ ตามมาตรา 65

ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)ฯ




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/ก.193 ลงวันที่ 12 เมษายน 2545

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)