Skip to Content

ค่าใช้จ่าย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การรับจ้างปลูกต้นพันธุ์ไม้

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การรับจ้างปลูกต้นพันธุ์ไม้


ข้อเท็จจริง

1. นาง ก. มีเงินได้จากศูนย์ป้องกันและกำจัดศัตรูอ้อย โดยรับจ้างปลูกต้นหน้าวัว

การทำงานจะทำงานในลักษณะเป็นกลุ่มช่วยกันทำต้นกล้า ปุ๋ย และสถานที่เป็นของศูนย์ฯ

2. ศูนย์ฯ จะจ้างให้ปลูกพันธุ์ไม้แต่ละชนิด โดยใช้ชื่อผู้รับเงินแต่ละคนเป็นผู้รับจ้างปลูกพันธุ์

ไม้ เมื่อผู้รับเงินได้รับเงินแล้วจะไปจ่ายให้ทุนคนภายในกลุ่มเท่า ๆ กัน

3. ค่าจ้างที่ศูนย์ฯ จ่ายให้นั้นจะอยู่ที่ประเภทพันธุ์ไม้ที่ปลูก ราคาจะแตกต่างกันไปแต่ละ

ประเภท เมื่อจ่ายเงินแล้วศูนย์ฯ จะออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยหักภาษีไว้ร้อยละ 1

นำส่งกรมสรรพากรตามแบบ ภ.ง.ด.3

เงินได้จากการรับจ้างปลูกพันธุ์ไม้ดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 40(8), พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 11)

แนววินิจฉัย

นาง ก. มีฐานะเป็นหัวหน้ากลุ่มและเป็นคู่สัญญาจ้างเหมากับศูนย์ฯ ต้องจัดหาคนงานมาปลูก

ณ สถานที่ ตามวัน เวลาที่ศูนย์เป็นผู้กำหนด ในกรณีมีวัสดุเหลือใช้ศูนย์จะเป็นผู้เก็บคืนทั้งหมดเมื่องาน

เสร็จ ศูนย์ฯ จะจ่ายค่าจ้างให้ตามผลสำเร็จของงานโดยคำนวณเป็นอัตราต่อขนาดต้นไม้ที่ปลูก เช่น

กระถางขนาด 8 นิ้ว ใช้ปลูกต้นไม้สูงประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร ได้ค่าตอบแทน 5 บาทต่อกระถาง

และจ่ายค่าจ้างทั้งจำนวนให้หัวหน้ากลุ่ม โดยนาง ก. ได้รับค่าจ้างจำนวน 90,000 บาท ถูกหักภาษี ณ

ที่จ่ายไว้ ในอัตราร้อยละ 1 ของยอดเงินได้ ส่วนหัวหน้ากลุ่มจะจ่ายให้สมาชิกอย่างไร ศูนย์ฯ ไม่มี

อำนาจเข้าไปเกี่ยวข้อง เพียงแต่ดูแลในเรื่องความเป็นธรรม การเอารัดเอาเปรียบเท่านั้น

เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติได้ว่า ศูนย์ฯ เป็นคู่สัญญาจ้างเหมานาง ก. ปลูกพันธุ์ไม้ (ต้น

หน้าวัว) เมื่องานเสร็จศูนย์ฯ ได้จ่ายค่าจ้างเหมาให้นาง ก. จำนวน 90,000 บาท พร้อมหักภาษี ณ

ที่จ่ายไว้อัตราร้อยละ 1 ของยอดเงินได้ที่จ่าย ดังนั้น เงินได้ที่นาง ก. ได้รับจากศูนย์ฯ ในลักษณะ

ดังกล่าว ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนาง ก. ยื่นแบบฯ ไว้

ถูกต้องแล้ว แต่สำหรับการคำนวณหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 70 เห็นว่ายังไม่ถูกต้องเพราะกรณี

ดังกล่าวต้องหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรเท่านั้น เพราะเงินได้จากการรับจ้างเหมาปลูกพันธุ์

ไม้ มิได้ระบุไว้ในรายการที่ (1) ถึง (43) ทั้งนี้ตามนัยมาตรา 8 และมาตรา 8 ทวิ แห่ง

พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจาก

เงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811(กม)/473 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2541

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)