Skip to Content

ค่าเช่ารับล่วงหน้า ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีค่าเช่ารับล่วงหน้า

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีค่าเช่ารับล่วงหน้า


ข้อเท็จจริง

บริษัท ช. ได้ให้ บริษัท อ. เช่าที่ดินมีกำหนดระยะเวลาเช่า 30 ปี เพื่อทำการ ก่อสร้าง

อาคารหรือสิ่งก่อสร้างในกิจการศูนย์การค้า ผู้เช่าตกลงชำระค่าเช่าเป็นเงินรวมทั้งสิ้น

194,568,706.96 บาท โดยแบ่งการชำระค่าเช่าดังนี้

- ชำระค่าเช่าล่วงหน้า ณ วันจดทะเบียน เป็นเงินจำนวน 55,430,400 บาท

- ชำระค่าเช่าเป็นรายปีเป็นเงินจำนวน 139,138,306.96 บาท โดยในระยะ 3 ปีแรกอยู่

ในอัตราปีละ 2,910,096 บาท และค่าเช่าจะเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 10 ของอัตราค่าเช่า ในขณะนั้น

ทุก 3 ปี

บริษัทฯ ได้รับเงินค่าเช่าล่วงหน้าจากผู้เช่าเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2543 และผู้เช่าได้หัก

ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 5 เป็นเงินจำนวน 2,771,520 บาท และนำส่งกรมสรรพากร

แล้ว บริษัทฯ จึงหารือว่า

1. บริษัทฯ จะต้องนำรายได้ค่าเช่ารับล่วงหน้ามาเฉลี่ยตามส่วนแห่งจำนวนปีตามสัญญาเช่า

คือ ปีละ 1,847,680 บาท และนำมาคำนวณเป็นรายได้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี โดยนำมารวมกับ

ค่าเช่ารายปีและยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วันนับจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีของแต่ละ

รอบใช่หรือไม่

2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จำนวน 2,771,520 บาท ที่บริษัทฯ ถูกหักไว้ บริษัทฯ มีสิทธินำ

มาเครดิตในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชีปี 2543 ทั้งหมดในปีเดียวใช่หรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 35 วรรคสอง

แนววินิจฉัย

1. ค่าเช่ารับล่วงหน้าซึ่งบริษัทฯ ได้รับในวันจดทะเบียนนั้น บริษัทฯ ต้องคำนวณรายได้

ดังกล่าวโดยเฉลี่ยเงินค่าเช่ารับล่วงหน้าตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่า และต้องนำส่วนเฉลี่ยที่

เป็นของรอบระยะเวลาบัญชีใด มารวมคำนวณกำไรสุทธิกับเงินค่าเช่าในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น เพื่อเสีย

ภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว ตามเกณฑ์สิทธิตามมาตรา 65 วรรคสอง แห่ง

ประมวลรัษฎากร

2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่บริษัทฯ ถูกหักและนำส่งไว้แล้ว บริษัทฯ มีสิทธินำมาใช้เป็น

เครดิตในการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่หักไว้นั้นได้ทั้งจำนวน




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/10540 ลงวันที่ 06 พฤศจิกายน 2544

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)