ค่าบริการ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายเงินค่าผ่านท่าและค่าภาระยกตู้สินค้า
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายเงินค่าผ่านท่าและค่าภาระยกตู้สินค้าข้อเท็จจริงบริษัท ป. จำกัด มีการส่งสินค้าไปจำหน่ายต่างประเทศ บริษัทฯ ได้จ่ายค่า EXPORT FCL LIFT OFF และค่า GATE CHARGE (ค่าภาระยกตู้สินค้าและค่าผ่านท่า) ให้กับบริษัท ท. ในคราว เดียวกัน โดยบริษัท ท. จะออกใบเสร็จรับเงินแยกเป็นใบ ๆ ตามเที่ยวรถที่ผ่านเข้าท่าแต่ละเที่ยว ดังนี้ วันที่ เลขที่ใบเสร็จรับเงิน ค่า Export FCL Lift Off,Gate Charge ภาษีมูลค่าเพิ่ม รวม(บาท) 14/08/44 11171305 990.65 69.35 1,060.00 14/08/44 11171306 990.65 69.35 1,060.00 14/08/44 11171308 990.65 69.35 1,060.00 14/08/44 11171309 990.65 69.35 1,060.00 14/08/44 11171310 990.65 69.35 1,060.00 รวม 4,953.25 346.75 5,300.00 บริษัทฯ จึงขอหารือว่าเมื่อบริษัทฯ จ่ายเงินค่าบริการดังกล่าวให้แก่บริษัท ท. รวมคราว เดียวกันจำนวน 5,300 บาท บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย หรือไม่อย่างไร กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 3 เตรส, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528แนววินิจฉัยกรณีบริษัทฯ จ่ายค่า EXPORT FCL LIFT OFF และค่า GATE GHARGE (ค่าภาระยกตู้สินค้า และค่าผ่านท่า) ดังกล่าว ถือเป็นการจ่ายค่าบริการ ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่ง ประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 ของค่าบริการที่จ่าย โดยไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามข้อ 12/1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.104/2544 ฯ ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2544 โดยให้คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ดังนี้ (1) กรณีการจ่ายค่าผ่านท่าของรถบรรทุกสินค้าที่ผ่านท่าแต่ละคัน ถือเป็นการจ่ายตามสัญญา รายหนึ่ง ๆ หากมีจำนวนไม่ถึงหนึ่งพันบาท ผู้จ่ายเงินไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายแต่อย่างใด ตามข้อ 12/5 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.104/2544 ฯ ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2544 (2) กรณีการจ่ายค่าภาระยกตู้สินค้า หากบริษัทฯ ได้มีการ Booking ตู้สินค้าในแต่ละครั้ง (แต่ละเที่ยวเรือ) เพื่อใช้บริการดังกล่าว ถือเป็นการจ่ายตามสัญญารายหนึ่ง ๆ หากมีจำนวนตั้งแต่หนึ่งพัน บาทขึ้นไป แม้จะมีการแบ่งจ่ายครั้งหนึ่ง ๆ ไม่ถึงหนึ่งพันบาท ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อมีการ จ่ายเงินทุกครั้ง ทั้งนี้ ตามข้อ 12/5 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.104/2544 ฯ ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2544 ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/4132 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 |