Skip to Content

ควบรวมกิจการ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการลดอัตราภาษีเงินได้สำหรับบริษัทจดทะเบียนที่ควบเข้ากัน

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการลดอัตราภาษีเงินได้สำหรับบริษัทจดทะเบียนที่ควบเข้ากัน


ข้อเท็จจริง

บริษัทฯ ขอหารือเรื่องการได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดอัตราภาษีเงินได้สำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (“ตลาดหลักทรัพย์ฯ”) ที่ควบเข้ากัน กรณีบริษัท ป. และบริษัท ท. ซึ่งบริษัททั้งสองเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และประสงค์จะควบเข้ากันเป็นบริษัทใหม่ (“บริษัทใหม่”) โดยผลของกฎหมาย ทั้งนี้ ป. และ ท. จะดำเนินการชำระบัญชีและเลิกกิจการไป โดยบริษัทใหม่จะรับโอนมาทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบของ ป. และ ท. ทั้งหมดตามมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ในส่วนที่เกี่ยวกับสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนของบริษัทใหม่ที่เกิดขึ้นจากการควบบริษัทนั้น

ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีนโยบายที่จะรับหลักทรัพย์ (หุ้นสามัญ) ของบริษัทใหม่ดังกล่าว ซึ่งเป็นการควบบริษัทของบริษัทจดทะเบียนที่มีคุณสมบัติในการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนครบถ้วนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยอัตโนมัติในวันที่กระทรวงพาณิชย์รับจดทะเบียนการควบบริษัท ทั้งนี้ หลักทรัพย์จดทะเบียนของบริษัทจดทะเบียนที่มีการควบกันดังกล่าวนั้นจะถูกเพิกถอนและสิ้นสภาพจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในวันเดียวกับการจดทะเบียนควบบริษัท บริษัทฯ

มีความเห็นว่า สิทธิประโยชน์ในการเสียภาษีอากรที่ ป. และ ท. ได้รับตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 387) พ.ศ. 2544 จะโอนไปยังบริษัทใหม่ซึ่งจะจัดตั้งขึ้นมาใหม่จากผลของการควบบริษัทด้วย ตามมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 บริษัทฯ. จึงขอหารือว่า ความเข้าใจข้างต้นถูกต้องหรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 387)

แนววินิจฉัย

กรณี ป. ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนที่ได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 387) พ.ศ. 2544 มีความประสงค์จะควบเข้ากันกับ ท. ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนที่ได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 4(2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 387) พ.ศ. 2544 ตามข้อเท็จจริง หากบริษัทใหม่มีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีหลักทรัพย์

จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ บริษัทใหม่ที่ได้ควบเข้ากันจะได้สิทธิลดอัตราภาษีเงินได้ และให้เสียภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300 ล้านบาท ทั้งนี้ ตาม

มาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 387) พ.ศ. 2544




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/2864 ลงวันที่ 08 เมษายน 2548

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)