Skip to Content

คณะบุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการจัดตั้งคณะบุคคลุ

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการจัดตั้งคณะบุคคลุ


ข้อเท็จจริง

สำนักงานสรรพากรภาค (สภ.) หารือเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคล

ธรรมดา กรณีการจัดตั้งคณะบุคคล ราย คณะบุคคลย่อย ร. (คณะบุคคลฯ) เพื่อประกอบการคืนเงินภาษีอากร สำหรับปีภาษี 2551 ซึ่งถูกหัก

ภาษี ณ ที่จ่าย เป็นจำนวน 3,724.80 บาท โดยมี รายละเอียดสรุปความได้ดังนี้

1. คณะบุคคลฯ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2548 มีผู้

ร่วมคณะจำนวน 3 คน ได้แก่ นาง พ. (นาง พ.) เป็นผู้จัดการ คณะบุคคลฯ นาง ณ. (นาง ณ.) และนางสาว ว.(นางสาว ว.) มีวัตถุประสงค์เพื่อ

รับโอนรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของบริษัท ธ. จำกัด (มหาชน) สาขาโรงพยาบาล ห. (ธนาคารฯ) ซึ่งเป็นค่าตอบแทนเนื่อง

จากการส่งเสริมการขาย แนะนำ ผลิตภัณฑ์ของบริษัทในเครือและพันธมิตรผ่านธนาคารฯ (คอมมิชชั่น) โดยไม่ได้มีการดำเนินกิจการอื่นใด

2. คณะบุคคลฯ จะรับโอนรายได้ตาม 1. ผ่านบัญชีเงินฝาก

ของธนาคารฯ ในอัตราร้อยละ 10 ถึง 20 ของค่าส่งเสริมการขาย ในแต่ละผลิตภัณฑ์ ซึ่งเงินที่โอนเข้าบัญชีดังกล่าว เป็นเงินกองกลางเพื่อนำ

ไปใช้เป็นสวัสดิการของพนักงานธนาคารฯ ในสาขา โรงพยาบาล ห. ทั้งหมด ไม่ได้มีการนำไปใช้เพื่อลงทุนในกิจการอื่น และไม่มีการนำ

เงินมาแบ่งปันผลกำไรแต่อย่างใด ในการเบิก จ่ายเงินในบัญชีนั้น นาง พ. ผู้จัดการคณะบุคคลฯ จะเป็นผู้ดำเนินการเบิกจ่าย ซึ่งต้องมี

พนักงานของธนาคารฯ อีก 2 คน ลงลาย มือชื่อเป็นพยาน แต่นาง ณ. และนางสาว ว. หุ้นส่วนในคณะบุคคลฯ ไม่ต้องลงลายมือชื่อแต่อย่างใด

3. เนื่องจากนาง ณ. และนางสาว ว. หุ้นส่วนในคณะบุคคลฯ

ได้ย้ายไปทำงานที่สาขาอื่น แต่ยังมีส่วนร่วมกับคณะบุคคลฯ ในการลงลายมือชื่อเพื่อขอคืนภาษี และเข้าร่วมประชุมประจำปีของคณะ

บุคคลฯ ดังนั้น จึงขอหารือว่า กรณีดังกล่าวถือว่าสภาพของคณะบุคคลฯ ยังมีอยู่หรือไม่ และถือว่าการจัดตั้งคณะบุคคลฯ ตามข้อเท็จจริง

ข้างต้น มีวัตถุประสงค์ในการแบ่งปันผลกำไรหรือผลตอบแทนจากการดำเนินกิจการหรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

-

แนววินิจฉัย

สัญญาจัดตั้งคณะบุคคลเป็นสัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป

ตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน แต่ขาดสาระสำคัญ ของสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญตามมาตรา 1012 แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง

และพาณิชย์ คือ ไม่มีลักษณะหรือวัตถุประสงค์ ที่จะแบ่งปันผลกำไรจากกิจการ ดังนั้น หาก สภ. พิจารณาข้อเท็จจริงแล้ว ปรากฏว่า คณะ

บุคคลฯ จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรับโอนรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของธนาคารฯ สาขาโรงพยาบาล ห. เงินที่โอนเข้า

บัญชีดังกล่าว จะเป็นเงิน กองกลางเพื่อนำไปใช้เป็นสวัสดิการของพนักงานธนาคารฯ ในสาขาโรงพยาบาลหาดใหญ่ทั้งหมด ไม่ได้มีการนำ

ไปใช้เพื่อลงทุน ในกิจการอื่น และไม่มีการนำเงินมาแบ่งปันผลกำไรแต่อย่างใดนั้น ย่อมเข้าลักษณะเป็นสัญญาจัดตั้งคณะบุคคล

เนื่องจากคณะบุคคลเป็นหน่วยภาษีที่กำหนดขึ้นตาม

ประมวลรัษฎากร เพื่อให้ครอบคลุมการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการคณะบุคคลไว้ จึง

ต้องนำบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับ ซึ่งได้แก่ บทบัญญัติว่าด้วยห้างหุ้นส่วนสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น

ในการเลิกคณะบุคคลต้องพิจารณาตาม มาตรา 1055 และมาตรา 1056 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนี้

มาตรา 1055 บัญญัติว่า "ห้างหุ้นส่วนสามัญย่อมเลิกกันด้วย

เหตุดังกล่าวต่อไปนี้

(1) ถ้าในสัญญาทำไว้มีกำหนดกรณีอันใดเป็นเหตุที่จะเลิก

กัน เมื่อมีกรณีนั้น

(2) ถ้าสัญญาทำไว้เฉพาะกำหนดกาลใด เมื่อสิ้นกำหนด

กาลนั้น

(3) ถ้าสัญญาทำไว้เฉพาะเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใด

แต่อย่างเดียว เมื่อเสร็จการนั้น

(4) เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งให้คำบอกกล่าวแก่ผู้

เป็นหุ้นส่วนคนอื่นๆ ตามกำหนดดังบัญญัติไว้ในมาตรา 1056

(5) เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งตาย หรือล้มละลาย

หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ"

มาตรา 1056 บัญญัติว่า "ถ้าห้างหุ้นส่วนได้ตั้งขึ้นไม่มี

กำหนดกาลอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นยุติ ท่านว่าจะเลิกได้ต่อเมื่อ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งบอกเลิกเมื่อสิ้นรอบปีในทางบัญชีเงินของห้าง

หุ้นส่วนนั้น และผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นต้องบอกกล่าวความจำนง จะเลิกล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกเดือน"

กรณีนาง ณ. และนางสาว ว. หุ้นส่วนในคณะบุคคลฯ ได้

ย้ายไปทำงานที่สาขาอื่น แต่ยังมีส่วนร่วมกับคณะบุคคลฯ โดยไม่ปรากฏว่า มีเหตุเลิกตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้างต้น คณะบุคคลฯ จึงยัง

คงมีสภาพเป็นคณะบุคคลตามประมวลรัษฎากรต่อไป




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/2212 ลงวันที่ 22 มีนาคม 2553

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)