Skip to Content

ขายสินค้า/จ้างทำของ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร


ข้อเท็จจริง

นางสาว ป. ได้รับมอบหมายให้กระทำแทนนายจ้างในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากรกรณีผู้มีเงินได้ออกจากงานระหว่างปี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานและทำความเข้าใจกับพนักงาน โดยมีข้อเท็จจริงสรุปได้ ดังนี้

นาย ก จะครบสัญญาจ้างแรงงานแบบมีกำหนดระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน ในวันที่ 31 มกราคม 2550 มีวิธีการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายอย่างไร

วิธีที่ 1

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี 30,000 X 12          360,000 บาท

หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 40 ไม่เกิน 60,000 บาท                    60,000 บาท

คงเหลือเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย                                      300,000 บาท

หัก ค่าลดหย่อนส่วนตัว                                                    30,000 บาท

ค่าลดหย่อนคู่สมรส                                                30,000 บาท

ค่าลดหย่อนบุตร(ศึกษา)                                          34,000 บาท

ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยฯ                                               10,000 บาท

เงินได้สุทธ                                                                      196,000 บาท

ภาษีเงินได้ทั้งป                                                                    9,600 บาท

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเดือนมกราคม                                     9,600 บาท

วิธีที่ 2

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี 30,000 X 12             360,000 บาท

หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 40 ไม่เกิน 60,000 บาท                       60,000 บาท

คงเหลือเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย                                        300,000 บาท

หัก ค่าลดหย่อนส่วนตัว                                                       30,000 บาท

ค่าลดหย่อนคู่สมรส                                                  30,000 บาท

ค่าลดหย่อนบุตร(ศึกษา)                                            34,000 บาท

ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยฯ                                                10,000 บาท

เงินได้สุทธิ                                                                      196,000 บาท

ภาษีเงินได้ทั้งปี                                                                  96,000 บาท

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเดือนมกราคม (96,000 หาร 12 คูณ 1)          800 บาท

นางสาว ป. จึงขอทราบว่า

1. วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากรกรณีผู้มีเงินได้ออกจากงานระหว่างปีจะต้องคำนวณวิธีที่ 1 หรือวิธีที่ 2 เพราะเหตุใด

2. หากคำตอบคือคำนวณวิธีที่ 2 จะเป็นการขัดกับข้อ 1 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.96/2543 เรื่อง การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากรกรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543หรือไม่ และกรณีนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายไม่ถูกต้องครบถ้วนจะมีความผิดอะไร


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร

แนววินิจฉัย

1. กรณีตาม 1 การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในเดือนสุดท้ายเนื่องจากผู้มีเงินได้ออกจากงานระหว่างปี ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีสิทธิที่จะคำนวณภาษีเพื่อให้เงินภาษีที่หักไว้ถูกต้องครบถ้วนตามรายการค่าลดหย่อนที่แท้จริง ตามหลักฐานที่ผู้มีเงินได้นำมาแสดง โดยนำเงินภาษีที่หักไว้ไม่ครบถ้วนหรือเกินในเดือนก่อนๆ มารวมหรือหักกับภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายไว้ครั้งสุดท้ายนั้น ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้หักและนำส่งไว้เท่านั้น ทั้งนี้ ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร

2. กรณีตาม 2 กรณีนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายไม่ครบถ้วนต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/517 ลงวันที่ 18 มกราคม 2550

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)