ขอคืนภาษี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีขอคืนภาษีจากการขายทอดตลาด
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีขอคืนภาษีจากการขายทอดตลาดข้อเท็จจริงนาย ณ. ได้ซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของนาย ว. นาย พ. และนาย ส. ตามประกาศขายทอดตลาดของ เจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นจำนวนเงิน 1,100,000 บาท สำนักงานบังคับคดีมีหนังสือให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียน โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่นาย ณ. และเจ้าพนักงานที่ดินฯ ได้เรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นจำนวน 34,365 บาท โดยใบเสร็จรับเงินของกรมที่ดินระบุว่า ได้รับเงินค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากนาย ว. กับนาย ณ. ต่อมานาย พ. ผู้ถือ กรรมสิทธิ์ร่วม ได้ยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดิน ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอด ตลาดที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าวเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2551 และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดใหม่ นาย ณ. จึงขอคืนภาษีเงินได้ต่อสรรพากรพื้นที่ที่มีภูมิลำเนา แต่เจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบว่า ใบเสร็จรับเงินของกรมที่ดินระบุว่า ได้รับเงินค่าภาษีเงินได้จากนาย ว. กับนาย ณ. ทำให้ไม่สามารถคืนเงินให้แก่นาย ณ. ได้ จึงขอทราบว่า กรณีจะยื่นขอรับเงิน ค่าภาษีอากรคืนในนามของนาย ณ. แต่ผู้เดียวจะได้หรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 27 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรแนววินิจฉัยกรณีประกาศขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับระบุให้ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอากรจาก การขายที่ดินตามประมวลรัษฎากร จึงเป็นกรณีที่ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดตกลงกับเจ้าพนักงานบังคับคดีตามข้อ สัญญาดังกล่าว ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดจึงเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอากรจากการซื้อที่ดินแทนเจ้าของที่ดิน และเจ้าพนักงานที่ดินฯ ได้เรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นจำนวน 34,365 บาท จากท่าน แต่ใบเสร็จรับเงินของกรมที่ดิน ระบุว่า ได้รับเงินค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากนาย ว.กับนาย ณ. ต่อมาเมื่อศาลได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดิน โฉนดเลขที่ดังกล่าว มีผลเท่ากับไม่มีการขายทอดตลาดเกิดขึ้น ทำให้ไม่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ นาย ณ. จึงมีสิทธิได้รับคืน เงินภาษีอากรที่ได้เสียไปแล้วเพราะเข้าลักษณะเป็นผู้เสียประโยชน์จากการชำระภาษีโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสีย โดยยื่นคำร้องขอคืน ภาษีอากรตามแบบ ค. 10 ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่นาย ณ. มีภูมิลำเนาในพื้นที่นั้นภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนด เวลายื่นรายการภาษีตามที่กฎหมายกำหนด ตามมาตรา 27 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/351 ลงวันที่ 19 มกราคม 2552 |