Skip to Content

ขอคืนภาษี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการพิจารณาคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการพิจารณาคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


ข้อเท็จจริง

นาย ว. ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 91) ปีภาษี 2547 ขอคืนภาษีจำนวน 241,460.30 บาท จาก การวิเคราะห์แบบฯ ปรากฏว่า นาย ว. มีเงินได้ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นจำนวน 831,600 บาท ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจำนวน 64,682 บาท จากห้างฯ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2547 นาย ว. ได้รับจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัท ช. ในฐานะ พนักงานของห้างฯ ซึ่งเป็นกิจการในเครือของบริษัท ช. โดยห้างฯ ได้คำนวณมูลค่าของใบสำคัญแสดงสิทธิเป็นมูลค่า 1,263,946 บาท หักภาษี ณ ที่จ่าย จำนวน 216,120 บาท นาย ว. จึงขอคืนภาษีและชี้แจงเหตุผลในการขอคืนภาษีว่าใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าวมี มูลค่าเป็นศูนย์ ณ วันที่ได้รับและตนเองนำใบสำคัญแสดงสิทธิไปขายในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เจ้าพนักงานประเมิน เห็นว่า เงินได้จากมูลค่าของใบสำคัญแสดงสิทธิถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ณ วันที่ได้รับและไม่ได้รับการยกเว้นภาษี เนื่องจากมิใช่เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ จึงนำเงินได้ดังกล่าวไปรวมคำนวณกับเงินได้จากเงินเดือนของนาย ว. เป็นผลให้มีภาษีต้องชำระเพิ่มเติมจำนวน 90,295 บาท ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเลขที่ 03014400-25480616-001-00154 ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2548 ซึ่งนาย ว. ได้ชำระภาษีแล้วเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2548 แต่ยังไม่ได้ ชำระเงินเพิ่ม

นาย ว. อุทธรณ์คัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2548 โดยชี้แจงว่า ณ วันที่ได้รับใบสำคัญ แสดงสิทธิยังไม่ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน เนื่องจากเป็นการออกให้เฉพาะตัว ยังไม่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์และไม่มีการจำหน่าย ให้ประชาชน การขายใบสำคัญแสดงสิทธิในตลาดหลักทรัพย์จึงได้รับยกเว้นภาษี สภ. จึงพิจารณาให้ปลดภาษีตามการประเมินราย นาย ว. โดยให้เหตุผลว่า "พิจารณาคำนวณภาษีให้ผู้อุทธรณ์ใหม่โดยไม่นำเงินได้จากการขายใบสำคัญแสดงสิทธิ (CK-W1) มารวม คำนวณภาษีและปรับปรุงการหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตใหม่ ปรากฏว่าผู้อุทธรณ์ได้ชำระภาษีไว้เกินจึงพิจารณาปลดภาษี" ต่อมามี พนักงานและกรรมการของบริษัท ช. มายื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (แบบ ค.10) จำนวน 25 ราย ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกับนาย ว. จึง ได้ดำเนินการพิจารณาคืนภาษีโดยใช้ผลการพิจารณาอุทธรณ์ ราย นาย ว. เป็นแนวปฏิบัติ และมีพนักงานและกรรมการของ บริษัท ช. จำนวน 3 ราย ขอคืนภาษีในประเด็นดังกล่าว


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 48 และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร

แนววินิจฉัย

กรณีที่ห้างฯ ซึ่งเป็นกิจการในเครือของบริษัท ช. ได้จัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ช. ให้แก่กรรมการและ พนักงาน (Corporate distribution) โดยผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิมีสิทธิซื้อหุ้นสามัญได้ตามราคาที่กำหนดและใบสำคัญแสดงสิทธิ (CK-W1) สามารถโอนเปลี่ยนมือได้ หากใบสำคัญแสดงสิทธิของบริษัท ช. มีราคาซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือ มีการซื้อขายกันในท้องตลาดหรือมีมูลค่าของใบสำคัญแสดงสิทธิตามที่ระบุไว้ กรณีดังกล่าวถือได้ว่า ในวันที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในใบสำคัญ แสดงสิทธิเป็นการได้รับเงินได้พึงประเมิน โดยให้ใช้ราคาเฉลี่ยของใบสำคัญแสดงสิทธิที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในเดือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์ ซึ่งเป็นราคาหรือค่าอันพึงมีของใบสำคัญแสดงสิทธินั้น เป็นเงินได้ของกรรมการและพนักงาน ผู้จ่ายเงินได้พึง ประเมินมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จากมูลค่าใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าว และจะต้องนำเงินได้ พึงประเมินที่ได้รับไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษีที่ได้รับใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าว ตามมาตรา 48 แห่ง ประมวลรัษฎากร

กรณีได้มีการคืนเงินภาษีให้กับกรรมการและพนักงานที่ได้รับใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าวโดยผิดพลาด ให้แจ้งส่งคืนเงินภาษี อากรที่ได้รับคืนไปตามแบบที่กรมสรรพากรกำหนด (แบบ ค. 31) ซึ่งหากกรรมการและพนักงานมิได้ส่งคืนเงินดังกล่าวภายในกำหนด เวลาที่ระบุไว้ในแบบ ค. 31 ก็ให้ปฏิบัติตามระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการคืนเงินภาษีอากร พ.ศ. 2539 ต่อไป




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/2079 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2552

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)