ขอคืนภาษี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายข้อเท็จจริงน.ส. ก. เป็นผู้ให้บริการจัดทำรายการเงินเดือนพนักงานของ บริษัท ม.(บริษัทฯ) บริษัทฯ ได้จ่ายเงินสวัสดิการนอก เหนือ จากเงินเดือนให้แก่พนักงานเดือนละ 25,000 บาท ประกอบด้วยเงินค่าเช่าบ้าน จำนวน 17,500 บาท และเงินภาษีที่คำนวณจาก ค่าเช่าบ้านจำนวน 7,500 บาท มีระยะเวลาการจ่ายให้แก่พนักงานจนถึงเดือนธันวาคม 2550 แต่บริษัทฯ จ่ายเงินสวัสดิการให้ พนักงานถึงเดือนธันวาคม 2551 โดยบริษัทฯ นำเงินค่าเช่าบ้านและภาษีที่บริษัทฯ ออกให้มารวมเป็นเงิน ได้ของพนักงานและ หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้จนถึงเดือนธันวาคม 2551 รวมเป็นเงินสวัสดิการที่บริษัทฯ จ่ายเกินกว่าที่ระบุไว้ในสัญญาจำนวน 300,000 บาท ซึ่งพนักงานต้องส่งเงินที่เกินคืนบริษัทฯ แต่ไม่สามารถชำระเงินส่วนเกินดังกล่าวคืนได้ในครั้งเดียว บริษัทฯ และพนักงาน จึงตกลงที่จะใช้วิธีการหักจากเงินเดือนเป็นรายเดือน 12 เดือน (เงินเดือนของพนักงานในปัจจุบันเดือนละ 137,042.88 บาท) ท่านจึงขอ ทราบว่า บริษัทฯ สามารถหักเงินที่จ่ายเกินดังกล่าวจากเงินเดือนปัจจุบันของพนักงานอย่างไร ดังนี้ 1. บริษัทฯ ต้องหักค่าเช่าบ้านที่จ่ายเกินจากเงินเดือนของ พนักงานเป็นรายเดือนๆ ละ 17,500 บาท เป็นระยะเวลา 12 เดือน รวมเป็นเงิน 210,000 บาท แม้ในสัญญาจะระบุว่ามีการจ่ายเงินเท่ากับ 300,000 บาท ซึ่งเป็นยอดที่รวมภาษีหัก ณ ที่จ่ายด้วย แต่พนักงานได้รับจริงเป็นระยะเวลา 12 เดือน รวม 210,000 บาท หรือจะหักเงินคืน เดือนละ 25,000 บาท (รวมค่าภาษี) 2. บริษัทฯ ต้องยื่นปรับปรุงแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด. 1) และแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด. 1ก.) และพนักงานต้องยื่นปรับปรุงแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดา (ภ.ง.ด. 91) ประจำปีภาษี 2551 หรือไม่ 3. เงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายจำนวน 90,000 บาท (7,500*12) กรมสรรพากรจะคืนให้แก่บริษัทฯ หรือพนักงาน 4. เงินได้พึงประเมินของพนักงานที่จะต้องคำนวณภาษี ภาษีหัก ณ ที่จ่ายปี 2553 จะคำนวณจากเงินเดือนปัจจุบันหรือ เงินที่ได้รับหลังจากหักคืนเงินส่วนที่เกิน กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 39 มาตรา 40(1) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากรแนววินิจฉัย1. กรณีบริษัทฯ จะเรียกเงินสวัสดิการที่จ่ายเกินคืนจากพนักงาน นั้น จะปฏิบัติอย่างไรเป็นเรื่องที่บริษัทฯ และพนักงาน จะต้องตกลงกัน 2. กรณีบริษัทฯ จ่ายเงินสวัสดิการเกินไปและได้มีการนำส่ง ภาษีหัก ณ ที่จ่ายแล้วต่อมาเมื่อบริษัทฯ ได้รับเงินดังกล่าวคืน บริษัทฯ ต้องนำมาถือเป็นรายได้ของรอบระยะเวลาบัญชีนั้นแต่ไม่ต้องยื่น รายการปรับปรุงแบบ ภ.ง.ด. 1 และ ภ.ง.ด. 1ก และ พนักงานซึ่งต้องคืนเงินสวัสดิการส่วนที่เกินคืนบริษัทฯ ทำให้เงินได้พึงประเมินที่ได้รับ ลดลงจึงต้องยื่นรายการปรับปรุงแบบ ภ.ง.ด. 91 ประจำปีภาษี 2551 3. บริษัทฯ จ่ายเงินสวัสดิการนอกเหนือจากเงินเดือนให้แก่ พนักงานได้แก่ค่าเช่าบ้านและเงินภาษีที่คำนวณจากค่าเช่าบ้าน ถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานของ ลูกจ้างตามมาตรา 39 และมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่บริษัทฯ จ่ายเงินสวัสดิการดังกล่าวให้พนักงานเกินกว่าที่ระบุไว้ในสัญญา 300,000 บาท (รวมภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่บริษัทฯ ออกให้) เป็นเหตุให้พนักงานต้องส่งเงินส่วนที่เกินคืนบริษัทฯ หากพนักงานได้ชดใช้เงินคืน ให้แก่บริษัทฯ และดำเนินการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91 ประจำปีภาษี 2551 ปรับปรุงรายการเมื่อคำนวณภาษีแล้วมีภาษีที่ชำระไว้เกินพนักงานจึงมี สิทธิยื่นคำร้องขอคืนภาษีได้ภายใน กำหนดเวลา 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งได้ถูกหักภาษีเกินไปตามมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร 4. การหักภาษี ณ ที่จ่ายของพนักงานที่ต้องคืนเงินบริษัทฯ ในปี 2553 ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อมีการจ่ายเงินได้พึงประเมิน (อัตราเงินเดือนในปัจจุบัน) ตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/6590 ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2553 |