Skip to Content

ขอคืนภาษี ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการโอนสิทธิการรับคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการโอนสิทธิการรับคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล


ข้อเท็จจริง

1. ธนาคาร ก. สาขากรุงเทพฯ เป็นผู้ประกอบการอยู่ภายใต้การบริหารการจัดเก็บ

ภาษีอากร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ปิดดำเนินกิจการใน

ประเทศไทย (รวมถึงกิจการวิเทศธนกิจ และการเป็นธนาคารรับอนุญาต) ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2545

และเปิดธนาคาร ค. สาขากรุงเทพฯ ทดแทน ซึ่งจะเปลี่ยนชื่อเป็นธนาคาร ข. สาขากรุงเทพฯ โดย

ธนาคารฯ ได้โอนกิจการ สินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพันไปยังธนาคาร ข. สาขากรุงเทพฯ ซึ่ง

ธนาคารฯ ได้มีการยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.09) และแบบแจ้งการ

เปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.09) เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2545 แจ้งโอนกิจการทั้งหมด

ให้แก่ธนาคาร ค. สาขากรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2545 และเปลี่ยนชื่อผู้ประกอบการจาก

ธนาคาร ค. สาขากรุงเทพฯ เป็นธนาคาร ข. สาขากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2545

2. ธนาคารฯ ได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (ค.10) เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2545 ขอคืน

ภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 1 เมษายน 2542 - 31 มีนาคม 2543 จำนวนเงิน

50,118,632.05 บาท ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบ และได้มีหนังสือขออนุมัติโอน

ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ขอคืนดังกล่าวให้แก่ธนาคาร ข. สาขากรุงเทพฯ เนื่องจากธนาคารฯ ปิด

ดำเนินการตามหนังสือลงวันที่ 29 มีนาคม 2545 จึงหารือว่า ในการแจ้งคืนเงินภาษีอากร (ค.20)

จะแจ้งคืนในชื่อของธนาคาร ข. สาขากรุงเทพฯ ถูกต้องหรือไม่ และสามารถดำเนินการแจ้งคืนเงิน

ภาษีอากรดังกล่าวได้หรือไม่ เนื่องจากธนาคาร ข. สาขากรุงเทพฯ ไม่ใช่ผู้ประกอบการที่อยู่ภายใต้

การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร

3. ขออนุมัติให้ธนาคาร ข. สาขากรุงเทพฯ อยู่ภายใต้การบริหารการจัดเก็บภาษีตั้งแต่วันที่

1 กันยายน 2545 ซึ่งได้รับอนุมัติจากกรมสรรพากรเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2545 ตาม

คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.382/2545 ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2545


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการขอคืนเงินภาษีอากร พ.ศ. 2539

แนววินิจฉัย

1. กระทรวงการคลังได้อนุญาตให้ธนาคาร ก. สาขากรุงเทพฯ ปิดดำเนินกิจการใน

ประเทศไทยได้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2545 และให้โอนกิจการ สินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพันของ

ธนาคาร ก. สาขากรุงเทพฯ ไปยังธนาคาร ข. สาขากรุงเทพฯ โดยจะต้องปฏิบัติตาม

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้อง

2. ตามระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการขอคืนเงินภาษีอากร พ.ศ. 2539 ส่วนที่ 2 การ

แจ้งผลการพิจารณาคำร้อง

ข้อ 17 การแจ้งผลการพิจารณาคำร้อง ให้ปฏิบัติดังนี้

17.1 .......

หนังสือแจ้งคืนเงินภาษีอากรที่ออกเลขที่แล้ว ให้ดำเนินการโดยเร็ว ดังนี้

ฉบับที่ 1 ส่งให้ผู้ขอคืนเพื่อให้เป็นหลักฐานในการขอรับเงินคืน

ตามระเบียบกรมสรรพากรดังกล่าว หนังสือแจ้งคืนเงินภาษีอากรต้องส่งให้แก่ผู้ขอคืนเท่านั้น

กรมสรรพากรไม่สามารถส่งหนังสือแจ้งคืนเงินภาษีอากรในนามของบุคคลอื่น แต่กรณีตามข้อเท็จจริงที่

หารือเนื่องจากกระทรวงการคลังได้อนุญาตให้ธนาคาร ก. สาขากรุงเทพฯ ปิดดำเนินกิจการใน

ประเทศไทย และโอนกิจการทั้งหมดให้ธนาคาร ข. สาขากรุงเทพฯ ธนาคารฯ ได้มีหนังสือถึง

กรมสรรพากรขอให้กรมสรรพากรคืนเงินภาษีให้แก่ธนาคาร ข. สาขากรุงเทพฯ และสามารถแจ้งคืนเงิน

ภาษีอากรในนามของธนาคาร ข. สาขากรุงเทพฯ และควรใช้บังคับเฉพาะกรณี ราย ธนาคาร ก.

สาขากรุงเทพฯ เท่านั้น




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706(กม.01)/321 ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2545

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)