Skip to Content

ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการเฉลี่ยค่าใช้จ่าย (Cost Sharing) ให้กับบริษัทในเครือ

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการเฉลี่ยค่าใช้จ่าย (Cost Sharing) ให้กับบริษัทในเครือ


ข้อเท็จจริง

คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้อนุมัติให้การส่งเสริมแก่ บริษัท ก. จำกัด ผลิต

HardDisk Drive สำหรับคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยเพื่อส่งออก โดยโครงการแรกได้เริ่มเปิด

ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2539

บัดนี้ บริษัทฯ ได้มีความประสงค์จะขยายกิจการเพิ่มขึ้นอีกโดยในส่วนขยายจะลงทุนเพิ่มอีก

ประมาณ 7,400 ล้านบาท จ้างคนเพิ่มอีกประมาณ 2,370 คน บริษัทฯ ได้แจ้งว่า นับตั้งแต่เปิด

ดำเนินการมาเมื่อบริษัทฯ ส่งสินค้าออกไปจำหน่ายต่างประเทศ หากเป็นการจำหน่ายตรงให้กับลูกค้าผู้ใช้

สินค้า บริษัทฯ จะส่งค่า Royalty ให้แก่บริษัท A สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริษัทแม่ที่ทำวิจัยและพัฒนา

ผลิตภัณฑ์ให้โดยจะชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายให้แก่กรมสรรพากร หากเป็นการส่งไปจำหน่ายให้แก่

บริษัทในเครือของ A บริษัทฯ ไม่ต้องชำระค่า Royalty

บริษัทฯ ขอทราบว่า นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2542 เป็นต้นไป บริษัทฯ มีความประสงค์จะ

ดำเนินการในเรื่องค่าวิจัยและพัฒนา รวมทั้งค่าลิขสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาที่บริษัท A ที่สหรัฐอเมริกา

เป็นผู้ทำให้ในลักษณะการเฉลี่ยค่าใช้จ่าย (Cost Sharing) กับโรงงานอื่น ๆ ในเครือของบริษัท A

ทั่วโลก โดยจะคิดรวมเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนสินค้า และจะชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายในการส่งเงิน

ออกให้แก่กรมสรรพากรก่อนด้วย ทั้งนี้ ตามรายละเอียดในหนังสือของบริษัทฯ พอสรุปได้ดังนี้

1. SPT จะเป็นผู้ผลิตเต็มรูปแบบ (ต่างจากผู้รับจ้างผลิต ที่จะตั้งราคาโดยบวกเพิ่มจาก

ราคาต้นทุนตามที่ได้ถือเป็นสมมติฐานในคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อขยายโครงการนั้น) และ

ตั้งราคาขายที่ราคาตลาดซึ่งจะทำให้บริษัทฯ มียอดรายได้ที่สูงขึ้น ทั้งนี้ จะปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย

ของประเทศไทยที่กำหนดว่าผู้ส่งออกจะต้องถือว่าได้ขายสินค้าที่ส่งออก ณ วันที่ส่งของออกจากประเทศ

และจะต้องบันทึกเป็นยอดขายของบริษัทฯ ณ วันส่งออกนั้นด้วย

2. เนื่องจากในปัจจุบัน บริษัทฯ ได้ส่งและจำหน่ายสินค้าให้แก่บริษัทในเครือซึ่งตั้งอยู่ ณ

ต่างประเทศ และบริษัทในเครือได้จำหน่ายสินค้าต่อไปยังลูกค้า OEM ดังนี้ ตามระบบวิธีการปฏิบัติของ A

ทั่วโลกจะกำหนดให้บริษัทในเครือเป็นผู้ชำระค่า Royalty ให้แก่บริษัทแม่โดยตรง

นับแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 A จะเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติในการคิดและเรียกเก็บ

ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาสินค้า (R&D) รวมทั้งค่าลิขสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา (IP) โดยจะคิด

รวมเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนสินค้าและจะถือปฏิบัติเช่นเดียวกันทั่วโลก

2.1 หน่วยธุรกิจ SSD ของทาง A ซึ่งรวมถึง SPT, โรงงานในประเทศสิงคโปร์,

ประเทศฮังการี,ประเทศจีน และในประเทศสหรัฐอเมริกา จะเข้าร่วมในสัญญา R&D Cost Sharing

ร่วมกัน และร่วมกับหน่วยพัฒนาด้วยหลักการ R&D Cost Sharing นี้ เป็นวิธีที่ยอมรับกันโดยทั่วไปและ

โรงงานต่าง ๆ ทั่วโลกจะร่วมกันรับผิดชอบค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดจากการวิจัยและพัฒนาสินค้า (โดยไม่มี

การบวกกำไรเพิ่มแต่อย่างใด) บนฐานและโดยการปันส่วนที่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งปกติจะใช้รายได้ของ

โรงงานเป็นฐานในการคำนวณค่าใช้จ่ายและการปันส่วนและวิธีการสามารถตรวจสอบได้โดยองค์กรอิสระ

เช่น บริษัทผู้ตรวจสอบบัญชี วิธีการดังกล่าวถือเป็นมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับตามกฎหมายภาษีของ

ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปโรงงานที่เข้าร่วมหลักการดังกล่าวตกลงที่จะ

ชำระค่าวิจัยและพัฒนารายปีล่วงหน้าและมีสิทธิที่จะใช้ผลการวิจัยและพัฒนา ค่าวิจัยและพัฒนารวมทั้งค่าใช้

ลิขสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้จะรวมคำนวณเป็นยอดเดียวกันโดยอาจเฉลี่ยให้ชำระเป็น

สัดส่วน ตามกำหนดระยะเวลาเพื่อความสะดวกแก่โรงงานต่าง ๆ ของผู้เข้าร่วมสัญญา cost Sharing

และผู้เข้าร่วมสัญญาสามารถจะบอกเลิกสัญญาได้และยังคงใช้สิทธิได้ตามส่วนจำนวนเงินที่ได้ชำระแล้ว

2.2 ภายใต้ประมวลรัษฎากรฉบับปัจจุบัน การชำระเงินตามระบบ Cost Sharing

จะทำให้บริษัทฯ ต้องชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ดังนี้ จะยังผลให้เกิดจำนวนรายรับของประเทศจาก

ภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนดังนั้น บริษัทฯ จึงจำเป็นที่จะต้องขออนุมัติแก้ไขจากคณะกรรมการ

ส่งเสริมการลงทุนทั้ง 2 โครงการ เพื่อให้เป็นไปตามรูปแบบใหม่ของการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ด้วย

การดำเนินการชำระเงินในระบบ Cost Sharing จะทำให้ผ่อนคลายปัญหาที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ

ของบริษัทฯ ในประเทศไทย และเชื่อว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศไทยเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะ

จะเพิ่มจำนวนรายได้จากการจัดเก็บภาษีดังกล่าวดังนั้น จึงขอทราบว่า การดำเนินการดังกล่าวจะถูกต้อง

ตามระเบียบของกรมสรรพากร และควรอนุญาตให้บริษัทฯ ดำเนินการตามข้อเสนอดังกล่าวได้หรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 65 ตรี (14)

แนววินิจฉัย

1. ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 13/2529 เรื่อง ภาษีเงินได้

กรณีรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะตามมาตรา 65 ตรี (14) แห่งประมวลรัษฎากร

ลงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2529 วินิจฉัยว่า ในกรณีที่สำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นของบริษัท หรือ

ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศใด ให้ความช่วยเหลือหรือให้บริการแก่สาขาที่ตั้ง

อยู่ในประเทศต่าง ๆ หลายแหล่งรวมทั้งในประเทศไทยด้วย และได้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่สำนักงานใหญ่

หรือสาขาอื่นได้จ่ายไปเพื่อการดังกล่าวไปยังสาขาต่าง ๆ นั้น

รายจ่ายที่สาขาในประเทศไทยของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย

ของต่างประเทศได้จ่ายไปให้สำนักงานใหญ่ หรือสาขาอื่นในต่างประเทศเพื่อเป็นค่าตอบแทนในการให้

ความช่วยเหลือการให้บริการแก่กิจการของสาขาในประเทศไทย ที่จะนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณ

กำไรสุทธิ และไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (14) แห่งประมวลรัษฎากร นั้น

จะต้องเป็นกรณีที่มีหลักฐานชัดแจ้งว่ารายจ่ายดังกล่าว เป็นรายจ่ายที่จ่ายไปโดยเป็นรายจ่ายที่มีลักษณะดัง

ต่อไปนี้

(1) รายจ่ายเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือหรือให้บริการของสำนักงานใหญ่ หรือ

สาขาอื่นนั้นเกี่ยวกับกิจการของสาขาในประเทศไทย

(2) รายจ่ายเกี่ยวกับการค้นคว้าและพัฒนา (Research and Development) โดย

สาขาในประเทศไทยจะต้องได้รับบริการหรือได้นำผลการค้นคว้าและพัฒนามาใช้ประโยชน์ในกิจการของ

สาขาในประเทศไทยตามความเป็นจริง

(3) รายจ่ายใด ถ้าสำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นได้นำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณ

กำไรสุทธิของสำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นแล้ว จะนำมาถือเป็นรายจ่ายของสาขาในประเทศอีกไม่ได้

(4) รายจ่ายที่สำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นเรียกเก็บมายังสาขาในประเทศไทย จะต้อง

มีหลักเกณฑ์และวิธีการแบบที่รับรองทั่วไป (Generally Accepted) และต้องถือปฏิบัติเช่นเดียวกับ

สาขาในประเทศอื่น และเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ

(5) รายจ่ายดังกล่าวจะต้องมิใช่รายจ่ายของสำนักงานใหญ่ หรือสาขาอื่นโดยเฉพาะ

เช่น ค่าเช่าที่ทำการ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเครื่องเขียน เครื่องใช้ ค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคาของ

เครื่องมือเครื่องใช้

จำนวนเงิน หลักเกณฑ์ และวิธีการดังกล่าวข้างต้นที่จะนำมาถือเป็นรายจ่ายของสาขา

ในประเทศไทยได้จะต้องมีหลักฐานหรือหนังสือรับรองโดยเจ้าหน้าที่ของต่างประเทศที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง

หรือโดยบุคคลอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรเชื่อถือได้ และหลักฐานหรือหนังสือดังกล่าว จะต้องมีรายละเอียด

เพียงพอที่แสดงให้เห็นว่าเป็นรายจ่ายที่จำเป็น และสมควรแก่การดำเนินการธุรกิจของสาขาใน

ประเทศไทยตามความเป็นจริง

2. ดังนั้น การเฉลี่ยค่าใช้จ่าย (Cost Sharing) กับโรงงานอื่น ๆ ในเครือของบริษัท

A ทั่วโลก ตามที่บริษัทฯ ขอมา หากเข้าเงื่อนไขทำนองเดียวกับที่กล่าวใน 1. ก็อนุมัติให้ดำเนินการได้




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/13043 ลงวันที่ 04 กันยายน 2541

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)