Skip to Content

ขนส่ง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับจ้างขนส่งผู้โดยสารทางเรือ

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับจ้างขนส่งผู้โดยสารทางเรือ


ข้อเท็จจริง

การรับจ้างขนส่งทางเรือในทะเลโดยการให้บริการรับส่งผู้โดยสารทั่วไปไปยังสถานที่ใด

เวลาใด และค่าโดยสารเท่าใดขึ้นอยู่กับการตกลง ส่วนกรณีผู้โดยสารซึ่งติดต่อผ่านตัวแทนคือโรงแรมหรือ

บริษัททัวร์ การคิดค่าโดยสารจะเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างเจ้าของเรือกับตัวแทน และเจ้าของเรือจะ

รับเงินค่าโดยสารจากตัวแทนไม่ได้รับเงินจากผู้โดยสารโดยตรง โดยเป็นการตกลงด้วยวาจาว่าโรงแรม

หรือบริษัททัวร์จะให้เจ้าของเรือไปรับและส่งผู้โดยสารตามคำสั่งของผู้ว่าจ้างโดยคิดค่าบริการเหมาลำ

ซึ่งชมรมเรือรับจ้างฯ เห็นว่า กิจการรับจ้างขนส่งทางเรือเป็นการขนส่งผู้โดยสารสาธารณะ

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าขนส่งไม่มีหน้าที่ต้องหัก

ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.101/2544 ฯ

แนววินิจฉัย

การรับจ้างขนส่งผู้โดยสารทางเรือ หากเป็นการรับส่งผู้โดยสารเป็นการทั่วไปเป็นปกติธุระ

เข้าลักษณะเป็นการขนส่งสาธารณะ เงินได้จากค่าโดยสารดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ

ที่จ่าย

สำหรับกรณีการตกลงรับขนส่งผู้โดยสารทางเรือและรับเงินค่าขนส่งผู้โดยสารจากโรงแรมและ

บริษัททัวร์ เข้าลักษณะเป็นการให้บริการที่มิใช่บริการขนส่งสาธารณะ ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งเป็น

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กล่าวคือการจ่ายเงินได้

ค่าบริการขนส่งตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2544 ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ตาม

ข้อ 12/1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528 ซึ่งแก้ไข

เพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.101/2544 ฯ ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2544 การจ่าย

เงินได้ค่าบริการขนส่งตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2544 เป็นต้นไป ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตรา

ร้อยละ 1.0 ตามข้อ 12/4 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.

2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.104/2544 ฯ ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.

2544 และการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องมีจำนวนตามสัญญารายหนึ่ง ๆ มีจำนวน

ตั้งแต่หนึ่งพันบาทขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่ง ๆ ไม่ถึงหนึ่งพันบาท




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/4939 ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2546

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)